Page 362 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 362
I22
จากการที่ได้ทบทวนเอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้องชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการชะลอไตเสื่อม
ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมระยะที่ 3-4 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้
และทักษะในการจัดการตนเองกับความเจ็บป่วยเรื้อรัง มีพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อม ที่ถูกต้องเหมาะสม
สามารถชะลอไตเสื่อมได้
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมชะลอไตเสื่อมระยะที่ 3-4 และผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ในโรงพยาบาลธวัชบุรี
วิธีดำเนินการวิจัย
รูปแบบการวิจัย การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและ
หลังการทดลอง (One-group pretest-posttest design) ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2565
ถึงเดือนกันยายน 2566
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
แล้วว่าอยู่ในระยะไตเสื่อมระยะที่ 3-4 ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเข้ารับบริการในคลินิกเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอก
โรงพยาบาลธวัชบุรี
กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าอยู่ในระยะไตเสื่อม
ระยะที่ 3-4 ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเข้ารับบริการในคลินิกเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลธวัชบุรี จำนวน
30 คน ที่ศึกษาโดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์
ที่กำหนด
ขนาดกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากโปรแกรม G*power
3.1.4.9 ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 19 ราย คำนวณเผื่อ Drop out 20% ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
เท่ากับ 29.69 หรือ 30 คน ในการศึกษาครั้งนี้จึงใช้กลุ่มตัวอย่างรวม ทั้งหมด 30 รายซึ่งจะมีค่าอำนาจในการ
ทดสอบจากการศึกษาในครั้งนี้เท่ากับ .80 และการจัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
30 ราย ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ผู้วิจัยใช้วิธีการจับฉลากสุ่มเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง
โดยทุกหน่วยของกลุ่มตัวอย่างมีโอกาสถูกเลือกเท่าเทียมกัน ใช้การจับฉลากเข้ากลุ่มทดลองจนครบตามจำนวน
เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย
ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมระยะที่ 3-4 ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการจัดการตนเอง
(Self-management) ของแคนเฟอร์และกาลิก-บาย บูรณาการกับรูปแบบการสนับสนุนการปรับเปลี่ยน
5
6
พฤติกรรมเทคนิค 5 เอ และศิริลักษณ์ ถุงทอง 2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสอบถาม
7
ข้อมูลลักษณะทางประชากรและข้อมูลสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง (2) แบบสอบถามพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อม
ที่ผู้วิจัยพัฒนามาจากงานวิจัยเรื่องผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
8
ในผู้สูงอายุที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมีเนื้อหา
ครอบคลุมเรื่องโรคไตเสื่อมจากเบาหวานและการดำเนินของโรค ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยส่งเสริมให้เกิดไตเสื่อม
จากเบาหวาน แนวทางการชะลอไตเสื่อมที่มีการหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการทดสอบสัมประสิทธิ์
อัลฟาของครอนบาช ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82
ขั้นดำเนินการทดลอง
ขั้นตอนที่ 1 การสะท้อนปัญหาพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโดยการสร้างสัมพันธภาพ
เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ รวมทั้งกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยบอกปัญหาที่แท้จริง ซึ่งผู้วิจัยจะใช้ข้อมูล
พื้นฐานที่ได้จากการประเมินพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อมในครั้งแรก เพื่อเจาะลึกลงไปในแต่ละปัญหาของผู้ป่วย