Page 361 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 361

I21

                         ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมระยะที่ 3-4 ต่อพฤติกรรม

                             และผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลธวัชบุรี

                  (Effects of Self-management Program for Slowing Progression of Chronic Kidney

                   Disease Stage 3-4 Dysfunction on Behaviors and Clinical Outcomes in Patients
                                 with Type 2 Diabetes Mellitus, Thawatchaburi Hospital)



                                                                                            นางปพิชญา สิงห์ชา
                                                                   โรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เขตสุขภาพที่ 7
                                                                                               ประเภทวิชาการ



                  ความสำคัญของปัญหา
                           ปัญหาโรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญพบได้ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยอุบัติการณ์

                  พบสูงขึ้นทั่วโลก อยู่ระหว่างร้อยละ 3.2-7.6 ต่อปี แตกต่างไปแต่ละประเทศ และเป็นปัญหาสำคัญ
                  ของประชากรไทยพบร้อยละ 17.5 (8.5 ล้านคน) จากการศึกษาของ Thai SEEK Study สมาคมโรคไต
                  แห่งประเทศไทย พบความชุกของโรคไตเรื้อรังได้ 17.5% และจากการสำรวจพบว่า 4.6-17.59 ของประชาชน
                  ไทยมีโรคไตเรื้อรัง แนวโน้มความทุกข์ของผู้ป่วยที่รักษาบำบัดทดแทนไต (Renal Replacement Therapy,

                  RRT) เพิ่มขึ้นปีละ 15-20% สาเหตุสำคัญ คือโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง  โรคไตเรื้อรังแบ่งออกเป็น
                                                                                      1
                  5 ระยะ ระยะแรกของโรคไตเรื้อรังมักไม่พบอาการผิดปกติเกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบและ
                  มักตรวจพบเมื่อมีการดำเนินของโรคมากแล้ว เมื่อดำเนินของโรคเข้าสู่ระยะสุดท้าย (End Stage Renal
                  Disease; ESRD) ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต เช่น การฟอกเลือดด้วยเครื่องไต

                  เทียม การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยวิธีใด
                  จะส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรักษาเพิ่มขึ้น ดังนั้นเป้าหมายที่สำคัญ
                                                                                          2
                  ในการรักษาโรคไตเรื้อรัง คือการป้องกันการเสื่อมของไต ไม่ให้เข้าสู่ไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
                           จากสถิติผู้ป่วยไตเรื้อรังที่มารับบริการในโรงพยาบาลธวัชบุรีปี พ.ศ.2563-2565 พบว่า มีจำนวน
                  2,428, 2,385, 2,570 ราย ตามลำดับ และพบผู้ป่วยมากที่สุดระยะที่ 3 โดยในปี พ.ศ.2563-2565 มีทั้งสิ้น 536
                  ราย (35.58 %) จำนวน 524 ราย (34.68%) จำนวน 264 ราย (34.97%) และยังพบว่าผู้ป่วยระยะที่ 4
                  และระยะสุดท้าย ปี พ.ศ.2563-2565 จำนวน 143 ราย (22.08%), 113 ราย (5.89%) จำนวน 133 ราย
                  (21.97%) ,101ราย (5.58%) และจำนวน 136 ราย (18.01%), 109 ราย (14.44%) ตามลำดับ ซึ่งพบว่าผู้ป่วย

                  ไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 เปลี่ยนเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายยังคงสูงขึ้น ถ้าเทียบกับผู้ป่วยทั้งหมด และยังพบว่าผู้ป่วย
                  สามารถชะลอไตเสื่อมโดยประเมินจากการที่ผู้ป่วยมี eGFR ลดลง < 4 มล/ นาที/ 1.73 ตร.ม   ปีพ.ศ.2565
                                    3
                  คิดเป็นร้อยละ 63.92  ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนดเป็นร้อยละ 66.0 มีการศึกษาพบว่าการดูแลตนเอง
                  ที่ถูกต้องเหมาะสมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3 และ 4 สามารถชะลอความเสื่อมของไตได้นานถึง 7-14 ปี
                  วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี คือการชะลอความเสื่อมของไตและคงไว้ซึ่งการทำงานของไต
                  ให้ยาวนานที่สุดตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยมีสิ่งสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ป่วยจัดการตนเองในการชะลอไตเสื่อม
                  ปรับแบบแผนการดำเนินชีวิต การควบคุมอาหาร ควบคุมความดันโลหิต การรับประทานยาตามแบบแผน
                                                                                 4
                  การรักษาของแพทย์ และการเฝ้าระวังอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
   356   357   358   359   360   361   362   363   364   365   366