Page 359 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 359
I19
Google spreadsheet เขียนคำสั่งเพื่อแจ้งเตือนการเฝ้าระวังเมื่อค่า Serum Creatinine (SCr)
เพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 เท่า หรืออัตราการกรองของไต (Estimate Glomerular Filtration Rate; eGFR)
ลดลงมากกว่าร้อยละ 25
• การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอบริบาลผู้ป่วยสามัญ โรงพยาบาล
นครปฐม มีอายุมากกว่า 18 ปี ได้รับยาที่มีพิษต่อไตตามรายการที่กำหนดอย่างน้อย 1 รายการ ได้แก่
Amphotericin B, Bactrim, Colistin, Vancomycin, Amikacin และ Gentamicin
• การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากเป็นการติดตามความปลอดภัยในการใช้ยาในบริบทของการ
ปฏิบัติงานตามปกติ การศึกษานี้จึงไม่มีการสุ่มคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แต่ติดตามผู้ป่วยทุกรายที่เข้าได้
ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยดำเนินการตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม
• สถิติที่ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา (descriptive statistics) ประมวลผลข้อมูลโดยใช้
โปรแกรม Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) version 16 ในการวิเคราะห์
ข้อมูลตัวแปรชนิดต่อเนื่องสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เพื่อแสดงลักษณะของประชากรตัวอย่าง, Chi-square test โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ร้อยละ 95 (p<0.05) ทดสอบความแตกต่างของสถิติของข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย
ระหว่างก่อนและหลังปรับระบบด้วย Chi-square test หรือ Independent t test
ผลการศึกษา
ในปี 2566 การติดตามรูปแบบเดิม สามารถติดตามการใช้ยาในผู้ป่วย 277 ราย ในขณะที่เดือนตุลาคม
2566 - กุมภาพันธ์ 2567 (ระยะเวลา 5 เดือน) ที่มีการติดตามโดยใช้โปรแกรมช่วยคำนวณ สามารถติดตาม
การใช้ยาในผู้ป่วย 514 ราย พบปัญหาการติดตามระดับ SCr ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดลดลงจากร้อยละ 9.75
เป็นร้อยละ 7.39 ตามลำดับ ผู้ป่วยที่มีอัตราการกรองของไตลดลงมากกว่าร้อยละ 25 มีจำนวนลดลงจาก
ร้อยละ 5.42 ในระบบเดิม เป็นร้อยละ 4.49 ในระบบใช้โปรแกรมช่วยคำนวณ อัตราการกรองของไตลดลง
มากกว่าร้อยละ 50 มีจำนวนลดลงจากร้อยละ 5.05 เป็นร้อยละ 3.82 และอัตราการกรองของไตลดลงมากกว่า
ร้อยละ 75 มีจำนวนลดลงจากร้อยละ 3.97 เป็นร้อยละ 3.82 ตามลำดับ เมื่อติดตามค่าอัตราการกรองของไต
ภายหลัง 4 สัปดาห์ถัดมา ไม่พบปัญหา Persistent ARF หรือมีการสูญเสียการทำงานของไตอย่างสมบูรณ์
(complete loss of renal function) และไม่พบผู้ป่วยที่เกิดไตผิดปกติจากการใช้ยาจนต้องล้างไต ทั้งนี้
ในการติดตามการใช้ยาที่มีพิษต่อไต สามารถสืบค้นปัญหาจากการใช้ยาเพิ่มขึ้นจาก 27 ครั้งในการติดตามรูป
แบบเดิม เป็น 38 ครั้ง ในการติดตามโดยการใช้โปรแกรมช่วยคำนวณ โดยปัญหาจากการใช้ยาที่พบบ่อยมาก
ที่สุด ได้แก่ การสั่งใช้ยาในขนาดสูงเกินไป (Dosage too high) จำนวน 33 ครั้ง ผลจากการแจ้งเตือนการปรับ
ขนาดยาสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาได้ 44,952 บาท
อภิปรายผลการวิจัย
การติดตามเฝ้าระวังยาที่มีพิษต่อไตโดยใช้โปรแกรมช่วยคำนวณ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตาม
การใช้ยาที่มีพิษต่อไต เนื่องจากมีระบบการแจ้งเตือนการเฝ้าระวังเมื่อค่า SCr เพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 เท่า หรือ
อัตราการกรองของไตลดลงมากกว่าร้อยละ 25 ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการใช้ยา ลดอุบัติการณ์
การเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่สามารถป้องกันได้
สรุปและข้อเสนอแนะ
• สรุปผลการศึกษา ระบบการติดตามเฝ้าระวังยาที่มีพิษต่อไตใช้โปรแกรมช่วยคำนวณ ช่วยลด
กระบวนการในการทำงาน สามารถติดตามและป้องกันการเกิดพิษต่อไตซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์