Page 42 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 42
A18
การพัฒนาระบบติดตามและป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)
ด้วยแนวทาง Intensive ADR Monitoring
เภสัชกรหญิงศศิพร จึงมีผลบุญ และเภสัชกรหญิงพัทร์วรินท์ ศรลัมพ์
โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
วาร์ฟาริน (Warfarin) เป็นยาในกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่มีดัชนีการรักษาแคบ (narrow
therapeutic index) การรับประทานยาวาร์ฟารินในขนาดสูงเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ที่เรียกว่า
major bleeding เช่น การเกิดเลือดออกในสมอง อวัยวะที่สำคัญ หรือเลือดออกจนถึงแก่ชีวิต แต่หากได้รับยา
วาร์ฟารินในขนาดต่ำเกินไป ก็อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้ คลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลพล
ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยการดูแลร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพ มีผู้ป่วยในคลินิก
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากข้อมูลย้อนหลังปี 2558 – 2561 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะ
major bleeding อยู่บ้าง จึงเกิดกระบวนการพัฒนาระบบบริบาลทางเภสัชกรรมและสื่อช่วยรับประทานยา
อย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี 2564 ลดอุบัติการณ์เกิด major bleeding ได้ ร้อยละ 100 อย่างไรก็ตาม ในเดือน
มกราคมปี 2566 มีผู้ป่วยวาร์ฟารินที่เกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารจนเสียชีวิต ซึ่งเป็น major bleeding
ที่สำคัญ ภายหลังทำการทบทวนกรณีศึกษาร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ในส่วนของกลุ่มงานเภสัชกรรม
จึงได้ดำเนินการทบทวนและพัฒนากระบวนการที่เกี่ยวข้องต่อไป
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนาระบบยาและรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน (warfarin)
2. เพื่อลดการเกิดภาวะเลือดออก ที่เป็น major bleeding และภาวะเลือดออกที่อันตราย
จนถึงแก่ชีวิต (fatal bleeding)
วิธีการศึกษา
เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ตามแนวคิดของ Stephen Kemmis &
Mc Taggart (1998) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในคลินิกวาร์ฟารินทุกราย และบุคลากร
ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และเภสัชกรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูล
ตามตัวชี้วัดที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนกันยายน 2566
ผลการศึกษา
1. ผลของการศึกษาบริบทในปัจจุบัน
คลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลพล ทำการทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น.
มีสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยอายุรแพทย์ แพทย์ พยาบาล เภสัชกรประจำคลินิก โดยผู้ป่วยที่มีค่า INR
(International normalized ratio) อยู่นอกเหนือเป้าหมายจะถูกส่งมาพบเภสัชกรก่อนเข้าพบแพทย์
เพื่อซักถามความร่วมมือ ความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา และปัญหาต่าง ๆ ด้านยา เช่นการเกิดอันตรกิริยา
หรืออาการไม่พึงประสงค์จากยา ข้อมูลที่ได้จากการบริบาลทางเภสัชกรรมแต่ละครั้งถูกบันทึกลงใน Patient
monitoring form และฐานข้อมูล Warfarin registry network สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ สมุดประจำตัว
ผู้ป่วย ตารางปรับขนาดยาสำหรับแพทย์ (warfarin dosing chart) การทำสติ๊กเกอร์รูปภาพสำหรับช่วย
รับประทานยา และการสร้างกล่องแจ้งเตือนในคอมพิวเตอร์ เพื่อเตือนว่าผู้ป่วยกำลังรับยาวาร์ฟาริน