Page 41 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 41

A17


                           3. การแจ้งเตือน trigger จะมีการเตือนในระบบโปรแกรมจ่ายยาที่พัฒนาขึ้น เภสัชกรงานบริการ

                  ตรวจสอบความเหมาะสมตามแนวทาง พิจารณาส่งปรึกษาแพทย์หากพบความไม่เหมาะสม และส่งต่อข้อมูล
                  มาที่เภสัชกรประจำคลินิกเพื่อติดตามต่อ
                           4. ติดตามในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินหรือมีประวัติใช้ยาวาร์ฟารินมาเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วย

                  ในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ในระหว่างปีงบประมาณ 2563 - 2565
                           5. รายงานผลเป็นจำนวน

                  ผลการศึกษา
                           ตารางที่ 1 แสดงผลลัพธ์ความปลอดภัย
                                      ปีงบประมาณ                  2558        2563         2564         2565

                   ผู้ป่วยที่รับยาประจำ รพ. กาฬสินธุ์             318          383          485          564
                   ผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชน/รพ.อื่น    201          233          282          349
                   ผู้ป่วยทั้งหมด (ราย)                                        616          767          913

                   จำนวน trigger ครั้ง (ร้อยละ)                150(28.90)  138(22.40)  173(22.56)  146(15.99)
                   ADR ครั้ง  ผู้ป่วยที่รับยาประจำ   Minor bleed   10(3.14)   14(3.66)    18(3.71)     10(1.77)
                   (ร้อยละ)  รพ.กาฬสินธุ์        Major bleed    17(5.35)      9(2.35)     13(2.68)     12(2.13)

                             ผู้ป่วยที่ส่งต่อ มาจาก  Minor bleed   7(3.48)     0(0)       4(1.42)      2(0.57)
                             โรงพยาบาลชุมชน      Major bleed  25(12.44)      17(7.30)     23(8.16)     21(6.02)
                            รวม ADR Minor bleed ครั้ง (ร้อยละ)   17(3.28)    14(2.27)     22(2.87)     12(1.31)
                            รวม ADR Major bleed ครั้ง (ร้อยละ)   42(8.09)    26(4.22)     36(4.69)     33(3.61)

                            รวม ADR ครั้ง (ร้อยละ)              59(11.37)    40(6.49)     58(7.56)     45(4.93)


                           อภิปรายผล จากการศึกษาจำนวนผู้ป่วยในที่ติดตามคือ 519 ราย 616 ราย  767 ราย และ
                  913 ราย ตามลำดับ พบจำนวนครั้งการเกิด trigger เป็น 150 ครั้ง 138 ครั้ง 173 ครั้ง และ 146 ครั้ง
                  ตามลำดับ พบอาการไม่พึงประสงค์ minor bleed  เป็น 17 ครั้ง 14 ครั้ง 22 ครั้ง และ 12 ครั้ง ตามลำดับ
                  พบอาการไม่พึงประสงค์ major bleed  เป็น 42 ครั้ง 26 ครั้ง 36 ครั้ง และ 33 ครั้ง ตามลำดับ หลังการพัฒนา
                  ทำให้สามารถเฝ้าระวังการใช้ยาวาร์ฟารินในกลุ่มเสี่ยงลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ด้านยา

                  และลดระดับความรุนแรงจากอาการไม่พึงประสงค์ด้านยาได้ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลชุมชน
                  ส่วนใหญ่มาด้วยอาการไม่พึงประสงค์ด้านยา จึงพบว่าสัดส่วนการเกิด major bleed มากกว่าการเกิด
                  minor  bleed

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การติดตามผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินด้วยระบบ real time trigger tool ทำให้เภสัชกรสามารถ
                  ให้การบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของการเกิดอาการ
                  ไม่พึงประสงค์ด้านยาได้ ส่วนการลดจำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการไม่พึงประสงค์ major bleed

                  การให้คำแนะนำและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมขณะใช้ยาวาร์ฟารินแก่ผู้ป่วย การมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพในการ
                  ดูแลผู้ป่วยทั้งที่มารับบริการที่สถานบริการหลัก เช่นโรงพยาบาลหลักที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
                  หรือสถานพยาบาลรอง เช่น สถานีอนามัย  ที่เพียงพอน่าจะช่วยลดความถี่ลงได้ และการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่มา
                  ด้วย อาการไม่พึงประสงค์ด้านยา หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้ยากลับสู่โรงพยาบาลหลัก

                  (กรณีผู้ป่วยที่ถูกส่งมาจากโรงพยาบาลชุมชน) เพื่อนำปัญหาไปพัฒนาและแก้ไขเชิงระบบต่อไป
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46