Page 43 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 43
A19
อย่างไรก็ตามจากการทำ root cause analysis จากกรณีตัวอย่างพบว่า เนื่องจากระบบแจ้งเตือน
ที่เห็นไม่ชัดเจน ทำให้บุคลากรจุดต่างๆ ไม่ได้ตระหนักถึงการได้รับยาวาร์ฟาริน เภสัชกรไม่ได้ทำ medication
reconciliation และแจ้งเตือนทีมสหสาขาวิชาชีพ
2. ผลของการพัฒนาระบบบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน
Planning:
ประชุมย่อยเภสัชกรเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่เภสัชกรที่ชัดเจนระหว่างเภสัชกรประจำคลินิก
เภสัชกรผู้ป่วยนอก และเภสัชกรผู้ป่วยใน วางแผนและหาแนวทางร่วมกันในการแจ้งเตือน
และดูแลผู้ป่วยในแต่ละจุดบริการ
Action :
1) เภสัชกรลงแจ้งเตือน “ผู้ป่วย on Warfarin” ในระบบ HosXP ในผู้ป่วยที่ได้รับยา Warfarin
ทุกรายโดยอยู่ตำแหน่งเดียวกับแจ้งเตือนแพ้ยา เพื่อให้สามารถสังเกตได้ชัดเจนทั้งใน
คอมพิวเตอร์และใบนำทาง
2) เภสัชกรในแต่ละจุดบริการ ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตน โดยแต่ละจุดมีบทบาทร่วมกัน
ในการเฝ้าระวังและค้นหาอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับยาวาร์ฟาริน
3) ด้านระบบการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ นำหลักการของการติดตาม Intensive ADR
มาใช้ ทั้งในการบริบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
Observation: ติดตามการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ
Reflection: สะท้อนผลจากตัวชี้วัดรายเดือน และรายปีงบประมาณ
3. ผลการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยวาร์ฟารินคลินิก ปีงบประมาณ 2566
ติดตามผลตั้งแต่ กุมภาพันธ์ ถึง กันยายน 2566 พบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกแบบ major
bleeding = 0 และผู้ป่วยที่เกิดภาวะเลือดออกที่อันตรายจนถึงแก่ชีวิต (fatal bleeding) = 0
อภิปรายผล
จากการกำหนดบทบาทเภสัชกรที่ชัดเจนขึ้น และการพัฒนาระบบติดตามและป้องกันอาการ
ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) ด้วย intensive ADR monitoring ทำให้สหวิชาชีพได้รับ
การแจ้งเตือนและตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น เมื่อเกิดอาการ
ไม่พึงประสงค์ไม่ว่าจะเป็น minor หรือ major bleeding ก็ได้รับการแก้ไขแบบทันท่วงที สามารถลดการเกิด
ภาวะ major bleeding และ fatal bleeding ได้ อย่างไรก็ตามตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นได้จากข้อมูลของผู้ป่วยที่ขึ้น
ทะเบียนคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลพล ยังไม่ครอบคลุมถึงผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินจากสถานพยาบาลอื่น
รวมทั้งผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นและไม่ได้กลับมาติดตามที่คลินิก
สรุปและข้อเสนอแนะ
การพัฒนาระบบติดตามและป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวาร์ฟาริน ด้วยแนวทาง
Intensive ADR Monitoring ทำให้สหวิชาชีพได้รับการแจ้งเตือนและตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟารินของ
ผู้ป่วยมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น วางแผนการรักษาและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ลดการเกิดภาวะ major bleeding
และ fatal bleeding ได้
ข้อเสนอแนะ
1. เพิ่มการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างคลินิกวาร์ฟารินและการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยในกรณีผู้ป่วย
เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
2. เพิ่มการค้นหา ADR เชิงรุกจาก trigger tools เช่น การได้รับ vitamin K และการค้นหา ADR
จากเคสส่งต่อ