Page 398 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 398

J11


                  เนื้อหาที่ต่อเนื่องประกอบกับการใช้สื่อวิดีทัศน์ทำให้เกิดการเรียนรู้  และเกิดการฝึกทักษะจนสามารถจดจำและ
                  ปฏิบัติได้

                         2. คะแนนการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม กลุ่มที่ได้รับ
                  โปรแกรมฯ (x̄ = 11.00, SD = 2.93) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐาน (x̄ = 3.00, SD = 2.72)
                  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สอดคล้องกับงานวิจัยของกนกพร อริยภูวงศ์ และคณะ (2562) ที่ศึกษาผลของ
                  การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาล

                  สุโขทัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกในกลุ่มทดลองหลังได้รับ
                  การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้สูงกว่าก่อนการทดลอง และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ดุจดาว ทัพเบิก
                  (2564) ที่ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเตรียมผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม หอผู้ป่วยตาหูคอจมูก

                  โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีความรู้ในการปฏิบัติตัว
                  ในการเตรียมผ่าตัดและความพึงพอใจแตกต่างกับกลุ่มควบคุมหลังได้รับการเตรียมผ่าตัด อภิปรายได้ว่าการใช้
                  แผ่นพับและสื่อวิดีทัศน์ประกอบการสอนนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพหรือการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น
                  ในสถานการณ์จริงหรือรายละเอียดต่าง ๆ อย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้ผลการเรียนรู้หรือผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้
                  เพิ่มขึ้นได้ จึงเป็นการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและผู้ดูแลมากขึ้น ดังนั้นแนวปฏิบัติ

                  การให้ความรู้ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่ได้รับส่งผลให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวถูกต้อง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
                         3. อัตราการเลื่อนผ่าตัดผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มที่
                  ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p = 1.00) อาจเป็นเพราะจำนวนกลุ่มตัวอย่าง

                  ที่ไม่มากพอ คือ มีจำนวนเพียง 68 รายเท่านั้น ดังนั้นการติดตามผลลัพธ์เรื่องอัตราการเลื่อนผ่าตัดจึงควร
                  ดำเนินการต่อโดยใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         สรุปได้ว่า โปรแกรมการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย
                  ก่อนผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมจะช่วยเพิ่มความรู้และการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัดได้ถูกต้อง ช่วยลด

                  อุบัติการณ์การงดหรือเลื่อนผ่าตัด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับไปใช้ชีวิต
                  อย่างมีคุณภาพ

                  ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
                      1. ด้านการบริหารการพยาบาล ควรกำหนดแนวทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โดยการให้

                  ความรู้ การสอน ประกอบการสาธิตให้ผู้ป่วยฝึกปฏิบัติ แจกคู่มือและแนะนำให้กลับไปฝึกต่อที่บ้าน มีการชี้แนะ
                  ให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สนับสนุนด้วยคำพูดให้กำลังใจ และมีการจัดสิ่งแวดล้อมเสมือนจริง
                  ขณะดำเนินการผ่าตัดต้อกระจก เพื่อให้ผู้ป่วยมีประสบการณ์คล้ายสภาพการผ่าตัดจริง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วย
                  ได้พัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง ผู้ป่วยมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และให้ความร่วมมือ
                  ในการปฏิบัติตัวขณะผ่าตัดถูกต้อง

                      2. ด้านการปฏิบัติการพยาบาล ใช้เป็นข้อมูลสำหรับบุคลากรในทีมสุขภาพในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย
                  ที่ผ่าตัดต้อกระจก ตั้งแต่ทราบว่าจะผ่าตัดที่แผนกผู้ป่วยนอกคลินิกจักษุ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อม และให้
                  ความร่วมมือในการปฏิบัติตัวขณะผ่าตัด
   393   394   395   396   397   398   399   400   401   402   403