Page 399 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 399
J12
โครงการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ : ประสิทธิผล สุขภาวะ และคุณภาพชีวิต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) แพทย์หญิงมันตาภรณ์ อิฐรัตน์ แพทย์หญิงจุฑารัตน์ บุตรดีขันธ์
นางอุบล ศรีษะธาตุ นางสุมาพร กลิ่นเกิด นางกิ่งเพชร สกุลรักษ์ และนางสาวมณีรัตน์ พุจารย์
โรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ต้อกระจกเป็นสาเหตุตาบอดที่สามารถป้องกันได้ในลำดับแรกของประเทศไทยและทั่วโลก การรักษา
ต้อกระจกคือการผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียม เพื่อช่วยฟื้นฟูการมองเห็น ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดีขึ้น จังหวัดสุรินทร์ ได้เริ่มโครงการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ (mobile cataract
surgery camp) โดยใช้ internal resource ขึ้น ที่อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เป็นแห่งแรก ภายใต้นโยบาย
“หนึ่งจังหวัด หนึ่ง รพ. One Province One Hospital” เพื่อสร้างจุดบริการระบบผ่าตัดต้อกระจกในพื้นที่
ห่างไกล ให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้าถึงบริการเฉพาะทางมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้พิการ และช่วยลดภาระ
ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและผู้ดูแลในการมารักษา โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผล สุขภาวะ
และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกในโครงการพัฒนาระบบบริการผ่าตัด
ต้อกระจกเคลื่อนที่ รวมถึงวิเคราะห์จุดแข็งของโครงการเพื่อพัฒนาระบบให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาประสิทธิผล สุขภาวะ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก
ในโครงการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ โรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบ prospective cohort study โดยมีเครื่องมือที่ใช้การศึกษา และการวัดผล
ดังนี้ 1. แบบบันทึกเวชระเบียนของโรงพยาบาล ได้แก่ ระดับสายตาก่อนและหลังผ่าตัดต้อกระจก ภาวะแทรกซ้อน
2. เครื่องมือวิจัยชนิดแบบสอบถาม EQ-5D-5L ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกประกอบด้วย 5 มิติทางสุขภาพ
คือ การเคลื่อนไหว การดูแลตนเอง กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ อาการเจ็บปวด/อาการไม่สบายตัว และความวิตก
กังวล/ความซึมเศร้า แต่ละด้านมี 5 ตัวเลือกซึ่งเรียงตามระดับความรุนแรงตั้งแต่ไม่มีปัญหาจนถึงมีปัญหามาก
ที่สุด ส่วนที่สองเป็นแบบประเมินสุขภาวะทางตรง หรือ Visual Analog Scale (VAS) มีลักษณะเป็นสเกลตั้งแต่
0 ถึง 100 โดย 0 หมายถึงสุขภาพที่แย่ที่สุด 100 หมายถึงสุขภาพที่ดีที่สุด โดยการศึกษานี้จะเก็บข้อมูล
ก่อนผ่าตัดต้อกระจก และหลังการผ่าตัดต้อกระจก 3 เดือน
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยต้อกระจกจำนวน 98 รายได้รับการลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาล
รัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ผู้ป่วย 50 ราย (51%) เป็นเพศหญิงและ 48 ราย (49%) เป็นเพศชาย โดยมีอายุเฉลี่ย
69 ปี ระดับการมองเห็นก่อนผ่าตัดโดยเฉลี่ยคือ hand movement หลังการผ่าตัดต้อกระจก ระดับการมองเห็น
โดยเฉลี่ย คือ 20/30 คุณภาพชีวิต (Quality of life; QOL) ดีขึ้น 4 ใน 5 มิติของ EQ-5D-5L คือ การเคลื่อนไหว
กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ อาการเจ็บปวด/อาการไม่สบายตัว และความวิตกกังวล/ความซึมเศร้า ยกเว้นการดูแล
ตัวเองที่สามารถทำได้เท่ากับก่อนผ่าตัด และค่าเฉลี่ยของสุขภาวะ VAS ของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 56.5 (7.4)
เป็น 99.2 (1.8) (p < 0.001) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้ คือ ถุงหุ้มเลนส์ฉีกขาดพบ 1 ราย ซึ่งได้รับ
การแก้ไขภายในเดือนแรกของการผ่าตัดและผู้ป่วยสามารถกลับมาเห็นดี