Page 401 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 401

J14


                             การศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

                                ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เขตพื้นที่ตำบลในเมือง จังหวัดยโสธร



                                                                                             นายมงคล อาตวงศ์
                                                            โรงพยาบาลนายแพทย์หาญ จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  หลักการและเหตุผล / ความสำคัญของปัญหา

                         โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
                  ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอ หรืออินซูลินมีฤทธิ์น้อยกว่าที่ควร ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาล
                  ในเลือดสูงเกิน สถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ รายงานว่า

                  ในปี พ.ศ. 2565 ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกมีจำนวน 415 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคนในปี พ.ศ. 2585
                  สำหรับประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                  จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 เมื่อปี 2565 พบว่าความชุก
                  ของโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.9 คิดเป็นจำนวนมากถึง 4.8 ล้านคน เทียบกับปี 2563 ซึ่งพบเพียง

                  ร้อยละ 6.9 หรือมีคนเป็นโรคเบาหวาน 3.3 ล้านคน ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นภาวะแทรกซ้อน
                  อย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยตาบอดได้ สำหรับความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอตา พบได้
                  ร้อยละ 15.57 - 42.6 และพบการตาบอดร้อยละ 2 ดังนั้นการศึกษานี้ ของศูนย์สุขภาพชุมชนหมอหาญ

                  โรงพยาบาลนายแพทย์หาญ จึงมีประโยชน์ในการสร้างมาตรการป้องกันภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาต่อไป
                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. ศึกษาความชุกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
                         2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

                  วิธีการศึกษา / การดำเนินการ
                         รูปแบบการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) เก็บข้อมูล

                  ย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
                  (Diabetic Retinopathy) โดยตรวจตาด้วย Fundus Camera ตั้งแต่ 1 ตุลาคม ถึง 30 ธันวาคม 2566
                  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติวิเคราะห์ Pearson’s Chi-Square

                  กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05
                         ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 283 ราย ของศูนย์สุขภาพ
                  ชุมชนหมอหาญ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยศ และศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านท่าศรีธรรม ที่ได้รับการตรวจคัดกรอง
                  ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic Retinopathy) โดยตรวจตาด้วย Fundus Camera ตั้งแต่

                  1 กันยายน ถึง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2566

                         เกณฑ์ในการคัดเข้า (Inclusion criteria) มีดังนี้

                                1. เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่มีประวัติเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตามาก่อน
                                2. ไม่ได้อยู่ระหว่างการรักษาโรคทางตาด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม

                                3. ยินยอมเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมงานวิจัย
   396   397   398   399   400   401   402   403   404   405   406