Page 402 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 402
J15
เกณฑ์ในการคัดออก (Exclusion criteria) มีดังนี้
1. เกิดผลข้างเคียงจากการตรวจจอประสาทตา
2. ผู้เข้าร่วมวิจัยเกิดปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติ
วิเคราะห์ Pearson’s Chi-Square กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างแบบบันทึกข้อมูลเพื่อ
เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย ข้อมูล เพศ อายุ อาชีพ รายได้
การศึกษา การออกกำลังกาย จำนวนปีที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
ส่วนที่ 2 แบบบันทึกข้อมูลภาวะสุขภาพประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย (BMI) ระดับน้ำตาล
ในเลือดสะสม (HbA1C) ระดับโคเลสเตอรอล ระดับไตรกลีเซอไรด์ ระดับไขมัน HDL ระดับไขมัน LDL ระดับ
ครีเอตินิน และโรคร่วม (ความดันโลหิตสูง ไขมันเลือดสูง) การวินิจฉัยภาวะเบาหวานขึ้นจอตา แบ่งเป็นดังนี้
การแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาใช้หลักเกณฑ์ของ The American Academy
of Ophthalmology (2002) มี 5 ระดับ ดังนี้
1. No Diabetic Retinopathy (No DR) หมายถึง จอตาปกติ เป็นระยะที่ไม่พบพยาธิสภาพ
ของเบาหวานเข้าจอตา
2. Mild Non-Proliferative Diabetic Retinopathy (Mild -NPDR) หมายถึง ตรวจพบ
หลอดเลือดฝอยโป่งพองเพียงอย่างเดียว
3. Moderate Non - Proliferative Diabetic Retinopathy (Moderate - NPDR) หมายถึง
ภาวะที่ตรวจพบว่า มีจุดเลือดออกที่จอประสาทตาหลอดเลือดฝอยโป่งพอง ทำให้ควบคุมการไหลเวียนของ
สารน้ำไม่ได้ โปรตีนในพลาสมารั่วออกนอกหลอดเลือดจับตัวแข็งเกิดเป็นก้อนสีขาวเหลืองขอบเขตชัดเจน
4. Severe Non-Proliferative Diabetic Retinopathy (Severe-NPDR) หมายถึง การตรวจ
พบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ มีเลือดออกในจอตามากกว่า 20 จุดในแต่ละส่วนของจอตาพบ
หลอดเลือดดำขยายตัวเป็นจุด ๆ เกิดลักษณะเป็นปุยขาวคล้ายปุยสำลีขอบเขตไม่ชัดเจนมีความผิดปกติของ
หลอดเลือดฝอยในจอประสาทตา
5. Proliferative Diabetic Retinopathy (PDR) หมายถึง ภาวะการขาดเลือดในจอประสาทตา
อย่างรุนแรงจนเกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ที่ขั้วประสาทตาที่จอประสาทตา ซึ่งหลอดเลือดใหม่นี้ทำให้เกิด
พังผืด ถ้าทิ้งไว้จะเกิดอาการดึงรั้งจอประสาทตาให้หลุดลอกและมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา
ผลการศึกษา
1. ข้อมูลทั่วไปผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจจอประสาทตา ปี พ.ศ. 2566 มีจำนวน 283 ราย
เป็นเพศหญิงมากกว่าชาย เพศหญิงร้อยละ 61.5 เพศชายร้อยละ 38.5 อายุเฉลี่ย 64.5 ปี ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ร้อยละ 74.2 ผู้ที่มีอาชีพ (รับจ้างและค้าขาย) ร้อยละ 25.7 การศึกษาประถมศึกษามากที่สุดร้อยละ 75.2
รายได้เฉลี่ย 5,917 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่มีรายได้น้อยกว่าสี่พันบาทต่อเดือน (ร้อยละ 74.2) ระยะเวลาเป็น
โรคเบาหวานเฉลี่ย 8.27 ปี ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ ร้อยละ 81.9
2. ข้อมูลสุขภาพ ร้อยละ 75.6 มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 23 (ซึ่งถือว่ามีน้ำหนักเกิน) ค่าดัชนีมวลกาย
เฉลี่ย 26.44 (อ้วนระดับ 2) ค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C) เฉลี่ย 7.34 (ค่าน้ำตาลสะสมมากกว่า 7 ถือว่าควบคุม
โรคเบาหวานไม่เข้มงวด) มีระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่า 7 ร้อยละ 54.1 ระดับโคเลสเตอรอลเฉลี่ย 191.6 mg%
ร้อยละ 53 มีระดับโคเลสเตอรอล ต่ำกว่า 200 mg% ซึ่งถือว่าควบคุมได้ดี ระดับไตรกลีเซอไรล์เฉลี่ย 162.1