Page 400 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 400

J13


                  อภิปรายผล
                         โครงการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ (mobile cataract surgery camp) โดยใช้
                  internal resource หรือระบบโรงพยาบาลพี่เลี้ยงภายในจังหวัด นอกจากจะช่วยเหลือผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่

                  ในพื้นที่ห่างไกลได้รับการรักษา และกลับมามองเห็น ดำรงชีวิตประจำวันได้ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสุขภาวะ
                  ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแล้ว โครงการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ยังเป็นการสร้างฐานระบบ
                  บริการผ่าตัดต้อกระจกเชิงรุกเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีโรคต้อกระจกเป็นหนึ่งในโรคสำคัญของผู้สูงอายุ
                  รวมถึงพัฒนาโรงพยาบาลอำเภอรัตนบุรีให้เป็นโหนดผ่าตัดต้อกระจกที่มีสมรรถนะสูง เป็นศูนย์กลางในการรับ
                  ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลลูกข่าย เช่น โรงพยาบาลสนม และโรงพยาบาลโนนนารายณ์ เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก

                  แนวทางพัฒนาโครงการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรใช้หลักการ 4T คือ
                         1. Trust สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประชาชนผ่านเครือข่าย 3 หมอ โดยหมอ 3 (อสม.) จะประชาสัมพันธ์
                  โครงการเพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงการรักษาผ่าตัดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ฟื้นฟูการมองเห็นและลงเยี่ยมบ้าน

                  โดยจักษุแพทย์
                         2. Teamwork & Talent ทำงานเป็นทีม และสนับสนุนคนเก่งที่มีความสามารถเฉพาะด้าน
                  โดยหมอ 3 หมอ (อสม.) ทำหน้าที่ลงคัดกรองสายตาเบื้องต้นในผู้สูงอายุที่เข้าเกณฑ์การรักษา และส่งต่อมายัง
                  หมอ 2 คือพยาบาล รพ.สต. เพื่อประสานมายังหมอ 2 (พยาบาลเวชปฏิบัติตา) ให้ทำการคัดกรองอย่างละเอียด

                         3. Technology ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น AI fundus camera, Tele-consultation ให้ทีมสามารถ
                  ทำงานได้ง่ายขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สื่อสารได้รวดเร็วในองค์กร
                         4. Targets กำหนดเป้าหมายการทำงานชัดเจน โดยมีการตั้งเป้า forecast จำนวนที่วางแผน จำนวน
                  การผ่าตัดในแต่ละปี แบ่งสัดส่วนจำนวนเคสที่ผ่าตัด โดยมีสัดส่วน โรงพยาบาลรัตนบุรี 70% โรงพยาบาลสนม

                  15% โรงพยาบาลโนนนารายณ์ 15% เพื่อให้จัดสรรทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและสามารถค้นหาผู้ป่วยที่อยู่ใน
                  ภาวะ blinding cataract ให้ได้รับโอกาสในการรักษาในหลากหลายพื้นที่

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         โครงการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ (mobile cataract surgery camp) โดยใช้

                  internal resource ควรได้รับการส่งเสริมเชิงนโยบายเพื่อดูแลสุขภาพดวงตาของประชาชน การศึกษานี้
                  สามารถบอกได้ว่าระบบบริการผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิผลดี เพิ่มคุณภาพชีวิต และ
                  สุขภาวะ ลด blinding cataract โดยมีภาวะแทรกซ้อนต่ำ โครงการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดต้อกระจก
                  เคลื่อนที่เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่ว่าต้อกระจกรักษาได้ สามารถเข้าถึงบริการได้ในพื้นที่ห่างไกล
                  ภายใต้การดำเนินงานโดยทรัพยากรและงบประมาณของรัฐ
   395   396   397   398   399   400   401   402   403   404   405