Page 403 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 403
J16
ซึ่งสูงกว่าค่าเหมาะสม 150 mg% เล็กน้อย ดังจะเห็นได้ว่า ร้อยละ 53.4 มีระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 150 mg%
ระดับไขมัน HDL เฉลี่ย 51.2 mg% ไขมัน HDL มากกว่า 50 mg% ถือว่าดี พบว่า ร้อยละ 53.7 มีระดับ HDL
มากว่า 50 mg% ระดับ LDL เฉลี่ย 113.8 สูงกว่าค่าเหมาะสม 100 mg% เล็กน้อย ร้อยละ 65.4 มีระดับ LDL
มากกว่า 100 mg% ระดับครีเอตินิน ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี คือ ร้อยละ 92.6 มีระดับไม่เกิน 1.5 mg%
มีโรคร่วมความดันโลหิตสูงเกือบทุกคน คือร้อยละ 96.1 มีโรคร่วมไขมันเลือด
3. ความชุกภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา จากการศึกษาครั้งนี้พบ ผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้น
จอประสาทตา จำนวน 77 ราย คิดเป็นความชุกร้อยละ 27.2 (95% CI : 23.0-33.5) เมื่อแยกเป็นรายละเอียด
พบว่า ส่วนใหญ่เป็นระยะแรก หรือระดับ Mild NPDR มากที่สุด จำนวน 48 ราย
4. ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เมื่อนำปัจจัยด้านบุคคลและ
ภาวะสุขภาพมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าอายุผู้ป่วย การมีอาชีพ ระยะเวลาการเป็นเบาหวานดัชนีมวลกาย
มากกว่า 23 โรคร่วมความดันโลหิตสูง และระดับซีรัมครีเอตินิน มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05
อภิปรายผล
ในการศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.9 และเป็นผู้สูงอายุ อายุเฉลี่ย 64.5 ปี
จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 75.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 74.2 มีรายได้น้อยกว่าสี่พันบาทต่อเดือน
ร้อยละ 53.4 กลุ่มตัวอย่างนี้มีภาวะอ้วน กล่าวคือ ร้อยละ 74.8 มี BMI มากกว่า 23 ขึ้นไป ไม่มีการออกกำลังกาย
เป็นประจำถึงร้อยละ 82 ระยะเวลาป่วยเป็นเบาหวานมานานเฉลี่ย 8.27 ปี ภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างนี้ ซึ่งเป็น
ภาพรวมของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่จะพบได้ทั่วไป เช่น จากการศึกษาของอนุพจน์ และคณะ ก็พบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีอายุในช่วง 45-59 ปี พบผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายที่มากกว่า
23 Kg/m (ร้อยละ 33.3) มีระยะเวลาป่วยเป็นเบาหวานเฉลี่ย 7.38 ปี
ความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา จากการศึกษาครั้งนี้ พบความชุกร้อยละ 27.2
ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของขวัญเรือน วรเตชะ ซึ่งได้ทำการศึกษาที่โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ปี 2555
ได้รายงานความชุกร้อยละ 28.3 นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาอื่น ๆ ที่รายงานความชุกแตกต่างกัน ได้แก่
อนุพจน์ สมภพสกุล (ความชุก 15.57) ปี 2555 การศึกษานี้พบว่าระยะ NPDR พบร้อยละ 22.9 และ
ระยะ PDR ร้อยละ 4.2 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Chetthakul et al. ที่พบระยะ NPDR ร้อยละ 22 และ
ระยะ PDR ร้อยละ 9.40 ซึ่งศึกษาจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 11 แห่งทั่วประเทศ แต่แตกต่างจาก
โยธิน จินดาหลวง ทำการศึกษาที่เขตเทศบาลเมืองตาก พบ NPDR ร้อยละ 40.8 และ PDR ร้อยละ 4.8 ซึ่งอาจเป็น
เนื่องจากคนในกรุงเทพฯ มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากคนต่างจังหวัดมาก
ปัจจัยเสี่ยงการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านบุคคลและภาวะสุขภาพ พบว่าระยะเวลาการเป็น
เบาหวาน อายุผู้ป่วย ดัชนีมวลกาย (BMI) โรคร่วมความดันโลหิตสูงและระดับครีเอตินินที่มากกว่า 1.5
มีความสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05
เรื่องระยะเวลาการเป็นเบาหวานมีความสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานขึ้นจอตา มีหลายการศึกษา
ที่พบว่าระยะเวลามากกว่า 5 ปีขึ้นไป มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา นอกจากนี้ อริย์ธัช เอี่ยมอุดม
ซึ่งศึกษาที่สถาบันราชประชาสมาสัย อำเภอพระปะแดง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน
นาน 5 - 10 ปี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขึ้นจอประสาทตา 5.7 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษานี้
ที่พบว่าผู้ที่ป่วยเบาหวานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานขึ้นจอตา 5.03 เท่า ทั้งนี้อาจเป็นเนื่องจาก
ผู้ป่วยของโรงพยาบาลนันอา ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตเมือง เหมือนกันอายุผู้ป่วยการศึกษานี้พบว่า กลุ่มอายุ
มากกว่า 70 ปี มีโอกาสพบภาวะเบาหวานขึ้นจอตามากกว่ากลุ่มอายุน้อยกว่า 60 ปี ถึง 2.8 เท่า มีผู้รายงานที่
สอดคล้องกันดังนี้ คือ อรสิริณ กิจดาวรุ่ง และกรทิพย์ มิตรวงษา รายงานไว้ว่าอายุมีความสัมพันธ์ด้วย เช่นกัน