Page 404 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 404

J17


                  ดัชนีมวลกาย การศึกษานี้ พบว่า มีความสัมพันธ์ด้วย มีผู้รายงานสอดคล้อง คือ โยธิน จินดาหลวง อย่างไรก็ตาม

                  การศึกษาของ ขวัญเรือน วรเตชะ ที่ศึกษาเรื่องปัจจัยทางเมตะบอลิกที่มีผลต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อม
                  ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ไม่พบว่า ดัชนีมวลกายจะมีความสัมพันธ์ด้วย
                         เรื่องโรคร่วมความดันโลหิตสูง มีผู้รายงานสอดคล้อง คือ Chetthakul et al. อริย์ธัช เอี่ยมอุดมสุข

                  โดย กรทิพย์ มิตรวงษา พบว่า ผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมกับเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูงไขมันเลือดสูง มีโอกาส
                  เสี่ยงที่จะพบ DR ได้สูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคร่วมถึง 1.63 เท่า ระดับ Serum Creatinine มากกว่า 1.5 มีความสัมพันธ์
                  กับภาวะเบาหวานขึ้นจอตา มีผู้รายงานสอดคล้อง คือ อริย์ธัช เอี่ยมอุดมสุข พบความสัมพันธ์ของค่าครีตินิน
                  ในเลือด (p = 0.004)
                         ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) การศึกษานี้ ไม่พบว่า มีความสัมพันธ์ แต่มีผู้ที่รายงานไว้

                  ว่ามีความสัมพันธ์ ได้แก่ อริย์ธัช เอี่ยมอุดม ที่พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) มีความสัมพันธ์ที่
                  P = 0.001 ขวัญเรือน วรเตชะ พบว่า น้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) มีความสัมพันธ์ (p value = 0.036)
                         การศึกษานี้ ไม่พบความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตากับระดับโคเลสเตอรอลและ

                  ไตรกลีเซอไรด์ ระดับโคเลสเตอรอลเกณฑ์ปกติคือไม่เกิน 200 mg% ซึ่งกลุ่มที่ศึกษานี้มีเพียงร้อยละ 53 ที่อยู่ใน
                  เกณฑ์การควบคุมที่ดี ส่วนระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือน้อยกว่า150 mg% ก็มีเพียงร้อยละ 46.6
                  ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมดี แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างนี้ มีผลการรักษาโรคเบาหวานที่ไม่ดีนัก

                  การนำผลการวิจัยไปใช้

                         นำผลที่ได้ไปพัฒนารูปแบบการดูแลและป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นตาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
                  และใช้ผลการวิจัยนี้ไปใช้ในการวางแผนนโยบายด้านสาธารณสุข เพื่อการส่งเสริม ป้องกัน ดูแล และเฝ้าระวัง
                  ภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวานต่อไป

                  ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

                         1. การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยทราบถึงอันตรายของโรคเบาหวาน
                         2. การกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม ในการรักษาโรคของตนเอง
                         3. ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจำเป็นต้องได้รับการตรวจตาเป็นระยะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
                         4. ผู้ป่วยจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลตาล ความดันโลหิต และไขมัน ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
                  ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

                         และควรศึกษาผลของโปรแกรมเพิ่มเติมในกลุ่มวัยเด็ก เนื่องจากแนวโน้มของการป่วยเป็นโรคเบาหวาน
                  ในวัยเด็กเริ่มมีอัตราการเกิดสูงขึ้นเรื่อย ๆ
   399   400   401   402   403   404   405   406   407   408   409