Page 478 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 478
L27
ผลการศึกษา
ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับเข้ารับการรักษาที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลอ่างทอง ตั้งแต่
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2566 ผู้ป่วยที่ตรงตามเกณฑ์คัดเข้ามีทั้งหมด 20 คน เป็น
เพศหญิง ร้อยละ 70 อายุมากกว่า 65 ปี ร้อยละ 35 มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 40 ประกอบ
อาชีพ อื่น ๆ เช่น แม่บ้าน ร้อยละ 25 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 65 ไม่มีประวัติแพ้ยา ร้อยละ 80 ระยะเวลาการ
นอนไม่หลับเฉลี่ย 6 เดือน
ส่วนที่ 2 คุณภาพการนอนหลับเปรียบเทียบก่อนและหลังรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์
ผู้ป่วยมีคุณภาพการนอนหลับค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ เท่ากับ
12.200 ± 2.462 และหลังรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ เท่ากับ 6.650 ± 2.412 พบว่า คุณภาพ
การนอนหลับเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.05) (คะแนน PSQI ≥ 5 หมายถึงคุณภาพการนอน
หลับอยู่ในเกณฑ์ไม่ปกติ)
ส่วนที่ 3 คุณภาพชีวิตเปรียบเทียบก่อนและหลังรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์
ผู้ป่วยที่ได้รับประทานตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์มีคะแนนคุณภาพชีวิตและคะแนนสุขภาพทางตรง
เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ซึ่งมีมิติสุขภาพด้านการเคลื่อนไหว กิจกรรมที่ทำเป็นประจำและอาการ
เจ็บปวด/อาการไม่สบายตัว ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ดังตาราง
ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิต (EQ-5D-5L)
ก่อนรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุข หลังรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุข P-value
ไสยาศน์ ไสยาศน์
คะแนนรวมคุณภาพชีวิต 0.881 ± 0.078 0.946 ± 0.061 0.000
คะแนนสุขภาพทางตรง 6.600 ± 0.940 7.800 ± 1.196 0.000
ค่าเฉลี่ยของค่าสัมประสิทธิ์ของคะแนนคุณภาพชีวิต (EQ-5D-5L) แต่ละมิติ
มิติสุขภาพ ก่อนรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุข หลังรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุข P-value
ไสยาศน์ ไสยาศน์
1. การเคลื่อนไหว 0.036 ± 0.038 0.011 ± 0.030 0.001
2. การดูแลตนเอง 0.002 ± 0.007 0.000 ± 0.000 0.330
3. กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ 0.017 ± 0.021 0.002 ± 0.010 0.016
4. อาการเจ็บปวด/อาการไม่สบาย 0.054 ± 0.049 0.028 ± 0.022 0.010
ตัว
5. ความวิตกกังวล/ความซึมเศร้า 0.042 ± 0.151 0.008 ± 0.023 0.334
Mean ± SD คือ ค่าเฉลี่ย (mean) ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
ส่วนที่ 4 อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์
เกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังจากการใช้ตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์จำนวน 2 ราย (ร้อยละ10) โดย
เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง คือ อาการใจสั่น 1 ราย และเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรงคือ อาการ
ปากแห้ง คอแห้ง 1 ราย