Page 479 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 479
L28
อภิปรายผล
หลังจากรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับมีคุณภาพการนอนหลับ
และคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผลการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับ ณัชชา เต็งเติม
วงศ์ (2564) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ในโรคนอนไม่
หลับเรื้อรัง พบว่า เมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาก่อนและหลัง พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ทุกครั้ง (p<0.05) และมีผลเพิ่มคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (EQ-5D-5L) เล็กน้อย
อาการไม่พึงประสงค์หลังจากรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ ที่เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่
รุนแรง (Serious ADR) คือ อาการใจสั่น ร้อยละ 5 และเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรง (Non Serious
ADR) คือ อาการปากแห้ง คอแห้ง ร้อยละ 5 ผลการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับ อาภากร บุญธรรม และคณะ
(2564) ได้ทำการวิจัย เรื่องศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของตำรับยาศุขไสยาศน์และตำรับยาทำลาย
พระสุเมรุ พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 39 ครั้ง ได้แก่ ระคายเคืองทางเดินอาหาร (13 ครั้ง), ร้อนวูบวาบ (5
ครั้ง) และวิงเวียนหรือปวดศีรษะ (4 ครั้ง) ในการศึกษานี้อาการไม่พึงประสงค์ที่พบเกิดหลังจากที่เริ่มใช้ยาวัแรก
แก้ไขโดยให้คำปรึกษาให้ผู้ป่วยหยุดการใช้ยาพบว่าอาการหายภายใน 1-2 วันและไม่มีภาวะแทรกซ้อน
สรุปและข้อเสนอแนะ
ตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ทำให้มีคุณภาพการนอนหลับ คุณภาพชีวิตและสุขภาพทางตรงดีขึ้นอย่าง
มีนัยสำคัญ (p < 0.05) และพบเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังจากรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ใน
ผู้ป่วยคือ อาการใจสั่น และ อาการปากแห้ง คอแห้ง ในผู้ป่วยบางราย
ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ ควรมีการสนับสนุนให้มีการนำไปใช้เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการ
รักษา และควรมีการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้ตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ กับยาหลอกในผู้ป่วยที่มี
ภาวะนอนไม่หลับ และเบื่ออาหารร่วมด้วย