Page 480 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 480

L29


                        การศึกษาผลการรักษาอาการน้ำนมไม่ไหลและน้ำนมไหลน้อยในมารดาหลังคลอด

                             ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลอู่ทอง ปีงบประมาณ 2567



                                                               นางสาวพิชชาภา ปรีดิวิสุทธิ์ และนางสาวดลิชา ชั่งสิริพร
                                                                     โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดอู่ทอง เขตสุขภาพที่ 5
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         น้ำนมแม่เป็นอาหารที่มีคุณค่าดีที่สุดสำหรับใช้เลี้ยงทารก เพราะในน้ำนมแม่มีสารอาหารครบถ้วน
                  มีผลดีต่อสุขภาพ ช่วยส่งเสริมด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสมอง มีภูมิต้านทานต่อโรค
                  โดยเฉพาะน้ำนมเหลือง(colostrum) เป็นของเหลวที่ข้นและมีสีเหลืองถูกหลั่งในระยะ 2- 4 วันแรกหลังคลอด

                  เพราะมีสารภูมิคุ้มกันปริมาณสูง โดยเฉพาะ secretary immunoglobulin A (Ig A) สารที่คอยดักจับ
                  สารแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อในทารกแรกเกิด เช่น ติดเชื้อทางเดินอาหาร
                  และระบบทางเดินหายใจ องค์การอนามัยโลกและองค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ได้แนะนำว่า
                  ภาย ใน 1 ชั่วโมงแรกหลังการเกิดทารกทุกคนควรได้รับนมแม่ทันที เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย

                  6 เดือน หลังจากนั้นให้อาหารเสริมตามวัยควบคู่กับนมแม่จนลูกอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น
                         โรงพยาบาลอู่ทองเป็น โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยต้นแบบ และเป็น โรงพยาบาลที่สนับสนุน
                  และเน้นการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 พบว่า มีมารดาหลังคลอดที่มีปัญหาน้ำนมไหล
                  น้อยและน้ำนมไม่ไหลมากถึง 344 คน จากมารดาหลังคลอดทั้งหมด 758 คน คิดเป็นร้อยละ 45.38

                  ซึ่งทีมแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลอู่ทองได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลกลุ่มมารดาหลังคลอด เพื่อช่วยแก้ไข
                  ปัญหาน้ำนมไม่ไหลและน้ำนมไหลน้อยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ได้แก่ การใช้ยาสมุนไพรบำรุงน้ำนม
                  (สูตรตามบัญชียาหลักแห่งชาติ) และการประคบสมุนไพร ด้วยลูกประคบ (สูตรตามบัญชียาหลักแห่งชาติ)
                  ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2567 ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาและรวบรวมผลการรักษาอาการน้ำนมไม่ไหล และน้ำนม

                  ไหลน้อยในมารดาหลังคลอดอย่างเป็นระบบเพื่อให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจน จะได้เป็นทางเลือกในการรักษา
                  อาการน้ำนมไม่ไหลและน้ำนมไหลน้อยในมารดาหลังคลอดต่อไป

                  วัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อ
                         1. ศึกษาผลในการรักษาอาการน้ำนมไม่ไหลและน้ำนมไหลน้อยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
                         2. เปรียบเทียบผลการรักษาด้วยการประคบสมุนไพร การใช้ยาสมุนไพรบำรุงน้ำนม และการใช้ 2 วิธีร่วมกัน

                  วิธีการศึกษา

                         การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยทางคลินิก เปรียบเทียบระดับการไหลของน้ำนมก่อนและหลังให้การรักษา
                  ที่มีระดับการไหลของน้ำนมดีขึ้นอย่างน้อย 1 ระดับ ทำการศึกษาในหอผู้ป่วยหลังคลอด รพ.อู่ทอง
                  ประชากรในการศึกษา คือ มารดาหลังคลอดและนอนพักฟื้นตัวที่ โรงพยาบาลอู่ทอง ทำการศึกษาตั้งแต่ตุลาคม
                  2566 - มีนาคม 2567 จำนวนมารดาหลังคลอดทั้งหมด 353 คน

                  กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้จำนวน 90 คน โดยเป็นกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม
                  โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกจาก
                         1) มารดาและทารกที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังการคลอด
                         2) ไม่มีประวัติการแพ้สมุนไพรในลูกประคบและในยาสมุนไพรบำรุงน้ำนม
   475   476   477   478   479   480   481   482   483   484   485