Page 547 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 547
N11
ผลของการพัฒนางาน Proactive Hospital based Surveillance โรงพยาบาลลำปาง
เภสัชกรหญิงวัชราพร กิ่งศักดิ์, เภสัชกรหญิงภาผอูน โซนี่
โรงพยาบาลลำปาง เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
จากตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2566-2569 จังหวัดลำปางมุ่งพัฒนาสู่จังหวัดใช้ยา
อย่างสมเหตุผล (RDU province) โดยการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุก ในโรงพยาบาล
(Proactive Hospital Surveillance) เพื่อให้เกิดระบบและกลไกเชิงรุกในการเฝ้าระวังความปลอดภัย ด้านยา
และส่งข้อมูลให้กับชุมชนนำไปแก้ไขปัญหาในพื้นที่ หรือการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในชุมชน
(Active Community based Surveillance) โรงพยาบาลลำปางจึงได้พัฒนาแนวทางโดยมุ่งเน้นติดตามและ
เฝ้าระวังกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่ป้องกันได้(Preventable ADR) เพื่อให้ทราบถึงบริบทของปัญหา
ในชุมชน สามารถส่งต่อปัญหาข้อมูลการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในชุมชน และ พัฒนาแนวทางแก้ไขและ
ป้องกันปัญหาในจังหวัดลำปาง
วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อให้เกิดระบบและกลไกเชิงรุกในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาล
ลำปาง และเกิดระบบเชื่อมต่อการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในหน่วยบริการและชุมชน
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ศึกษาผลของการพัฒนางาน Proactive Hospital
based Surveillance ในโรงพยาบาลลำปาง โดยการเก็บข้อมูลแบบ Retrospective ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา
ในโรงพยาบาลในระหว่าง เดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือน กันยายน 2566 และได้รับการวินิจฉัยด้วยกลุ่มอาการไม่
พึงประสงค์(ADR)จากยาที่เฝ้าระวัง 6 กลุ่ม คือ 1) ยาสเตียรอยด์ 2) ADR จากยากลุ่ม NSAIDs ที่ได้รับจากชุมชน
3) ผู้ป่วยแพ้ยาปฏิชีวนะ, NSAIDs ที่ได้จากชุมชน 4) ภาวะเลือดออกผิดปกติจากยา warfarin ที่มาสาเหตุจาก
ชุมชน 5) กัญชาในกลุ่มที่ได้จากการ self medication 6) ภาวะ Metformin-associated lactic acidosis
(MALA) ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย 1. การเตรียมการ 2. สร้างแนวทางการเฝ้าระวังความปลอดภัยเชิงรุก
โรงพยาบาล 2 ระบบ ได้แก่ การรายงาน ADR และการค้นหาเชิงรุกผ่าน ICD10 3. การ Implementation
4. การค้นหาผู้ป่วย 5. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และประมวล 6. การนำข้อมูลไปสู่การจัดการความเสี่ยง
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ร้อยละ
ผลการศึกษา : ผลของการดำเนินงาน Proactive Hospital based Surveillance โรงพยาบาลลำปาง