Page 549 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 549
N13
1) พบมากสุดคือจากการใช้ยา NSAIDs ที่ได้รับจาก ร้านขายยา/คลินิก/ร้านขายของชำ 42 ครั้ง
จำแนก เป็น เกิดแพ้ยา 38 ครั้งพบการแพ้ยาซ้ำ 1 ครั้ง และ พบการเกิด Acute kidney injury 4 ครั้ง
2) การแพ้ยาปฏิชีวนะที่ได้รับจากชุมชน 36 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 23 และเป็นการแพ้ยาซ้ำ 1 ครั้ง
3) ภาวะเลือดออกผิดปกติจากยา warfarin 35 ครั้งมีสาเหตุเกิดจาก Drug interaction จากยา/
อาหาร/สมุนไพรที่ได้รับในชุมชน
4) MALA 26 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 17 และ 5) ADR จากกัญชาที่ได้จากการ self medication 17 ครั้ง
3. กระบวนการพัฒนางานทำให้เกิดการพัฒนาระบบเชื่อมต่อการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาใน
หน่วยบริการและชุมชน ทำให้ Active Community based Surveillance เครือข่ายซึ่งได้แก่ เภสัชกรปฐมภูมิ
เจ้าหน้าที่ รพ.สต. อสม. สสจ. ทราบข้อมูลแหล่งที่มาของปัญหาเพื่อที่จะได้ไปแก้ไขป้องกันปัญหาในชุมชน
4. กระบวนการพัฒนางานทำให้เกิดแนวทางในการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ ดังนี้
1) ปัญหา NSAIDs ยาปฏิชีวนะ ภาวะเลือดออกจาก warfarin ที่มีสาเหตุจากชุมชน และ ADR
จากกัญชาจากการ self medication พัฒนาในเรื่อง RDU Literacy ให้ความรู้แก่ประชนชน และ ขับเคลื่อน
ผ่านกระบวนการ RDU-Community เพื่อให้เกิดการใช้ยาสมเหตุผลในภาคชุมชนเอกชน
2) ปัญหา MALA ได้พัฒนาแนวทาง คือ จัดทำแนวทางการป้องกัน MALA จังหวัดลำปางโดย
ใช้แนวทางของโรงพยาบาลลำปางเป็นต้นแบบ และ แนวทาง Proactive Sick protocol guideline
สรุปและข้อเสนอแนะ : การพัฒนางานทำให้เกิดประสิทธิผลโดยสรุปดังนี้
1. เกิดระบบและกลไกเชิงรุกในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาลลำปาง : ทราบถึง
ปัญหาในชุมชน และเกิดการตระหนักถึงการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาล
2. เกิดระบบเชื่อมต่อการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในหน่วยบริการและชุมชน เพื่อส่งต่อปัญหา
ด้านการใช้ยา สู่กระบวนการแก้ไขปัญหาในภาคชุมชน
3. เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาลลำปาง และชุมชนจังหวัดลำปาง
ข้อเสนอแนะ: ในปี 2566 การพัฒนางานทำให้ทราบปัญหาและเกิดระบบและกลไกเชิงรุกในการ
เฝ้าระวังในปี 2567 จะมุ่งเน้นการพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการดำเนินการ