Page 663 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 663
P40
การพัฒนาระบบการส่งต่อแบบไร้รอยต่อผู้ป่วยนอกด้านศัลยกรรม
จากโรงพยาบาลเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี
นงลักษณ์ โลหะเวช
โรงพยาบาลอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุดรธานี ได้ให้บริการผู้ป่วยทั้งในเขตพื้นที่และนอกเขต
พื้นที่ เขตสุขภาพที่ 8 เนื่องจากพื้นที่ห้องตรวจศัลยกรรมคับแคบ ผู้ป่วยมาพร้อมกันในเวลาเดียว มีผู้ป่วยหลาย
ประเภททั้งรถนั่ง, เปลนอนและเดินได้ เดิมนัดผู้ป่วยเวลาเดียว การลงทะเบียนไม่จำกัดจำนวนและไม่จำกัดเวลา
จำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย(ปีงบประมาณ 2560-2566)340, 339, 336, 298, 280, 272, 336 คน / วัน ตามลำดับ
ระยะเวลาการรอคอยนาน ผู้ป่วยประเภทรถนั่ง, เปลนอนและเดินได้ รอคอยแบบแออัด “แบบหายใจรดต้นคอ”
เบียดเสียด ที่นั่งพักคอยไม่เพียงพอ ทั้งนั่งพื้นทั้งยืนรอ ผู้ป่วยมาแต่เช้า ไม่จำกัดเวลาการลงทะเบียน ระยะเวลารอ
คอยเฉลี่ย (ปีงบประมาณ 2562-2566) 140-150 นาทีผู้ป่วยที่ส่งต่อจาก รพ.เครือข่าย “มาแบบเสี่ยงดวง”
เพื่อพบแพทย์เฉพาะทาง มาแล้วไม่ได้ตรวจ มาหลายรอบ ไม่ได้พบแพทย์เฉพาะทาง มาไม่ตรงวันออกตรวจของ
แพทย์ ทำให้ต้องนัดมาครั้งต่อไป เสียทั้งเวลา เสียทั้งเงินในการเดินทาง ร้อยละจำนวนผู้ป่วย Walk in
(ปีงบประมาณ 2560-2563) 43.97, 43.81, 47.41
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อเพิ่มการลงนัด Online ของ รพ.เครือข่าย ผ่าน www.udh.go.th ให้มากกว่า 50%
2. ลดอัตราผู้ป่วย Walk in ของ รพ.เครือข่าย ไม่เกินร้อยละ 20
3. ลดระยะเวลาการรอคอยของผู้ป่วยจาก รพ.เครือข่าย ให้น้อยกว่า 120 นาที
4. เพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วยจาก รพ.เครือข่าย ให้มากกว่า 85%
วิธีการศึกษา ขั้นตอนดำเนินงาน
โดยมีขั้นตอนการทำคือ 1)จัดประชุมชี้แจงแนวทาง/นโยบายวางแผน การรับผู้ป่วยศัลยกรรม
ของโรงพยาบาลเครือข่าย 2)นำเสนอข้อมูล 3)วิเคราะห์ข้อมูลประเด็นเหตุการณ์/อุบัติการณ์ ทบทวนระบบ
ที่ออกแบบไว้และปฏิบัติ โดยทีมงานห้องตรวจศัลยกรรม 4) แลกเปลี่ยนข้อมูลและเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง
โรงพยาบาลเครือข่ายกับโรงพยาบาลอุดรธานี ทาง Line กลุ่ม โดยทีมงานห้องตรวจศัลยกรรม
5) มอบนโยบาย/สั่งการ/มอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการต่อและกำหนดติดตามผลโดยทีมงานห้องตรวจ
ศัลยกรรม 6) สรุปประชุมตรวจสอบ ปรับปรุงผลลัพธ์ โดยทีมงานห้องตรวจศัลยกรรม