Page 665 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 665
P42
4. เพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วยของ
โรงพยาบาลเครือข่ายให้มากกว่า 85%
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2566)
80.8, 84.4, 91.9, 93.2, 94.3 ตามลำดับ
อภิปรายผล
- บทเรียนปัญหาหรือความท้าย คือ เครือข่ายเข้าร่วมไม่ครบร้อยละ 100 ในการทบทวนและประกาศ
ใช้นโยบายจังหวัดต้องติดตามและDirect เป็นรายโรงพยาบาลและส่งคืนข้อมูลให้เห็นผลการดำเนินการ
- ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ความร่วมมือและการตระหนักถึงความสำคัญจากโรงพยาบาลเครือข่ายในจังหวัด
อุดรธานี โดยเฉพาะแพทย์และทีมศัลยแพทย์ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงสหสาขาวิชาชีพต่างๆล้วนเป็นกำลังใจ
และร่วมมือให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลเครือข่ายได้มีโอกาสได้เข้าถึงบริการอย่างมีคุณภาพ เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
บริการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ พิทักษ์สิทธิผู้ป่วย เน้นการนำมาตรฐานวิชาชีพ ความรู้ที่ทันสมัย
มีมาตรฐานทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตลอดเวลา ร่วมกันทั้งทางโรงพยาบาลเครือข่ายและโรงพยาบาล
อุดรธานี ในการส่งต่อผู้ป่วยกลุ่มโรคทางศัลยกรรม
- การสนับสนุน การสนับสนุนเชิงนโยบาย, สนับสนุนงบประมาณ, ให้คำปรึกษา, จัดอบรมให้ความรู้
ในหน่วยงานและโรงพยาบาลเครือข่าย
สรุปและข้อเสนอแนะ
การพัฒนาระบบการส่งต่อแบบไร้รอยต่อผู้ป่วยนอกด้านศัลยกรรมจากโรงพยาบาลเครือข่ายในพื้นที่
จังหวัดอุดรธานี ณ ห้องตรวจศัลยกรรม โดยใช้แนวคิด Lean management บูรณาการคิดผสานเรื่องคลินิก
(Clinical) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และการปฏิบัติการ(Operation) ร่วมกัน ทำให้
ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเครือข่าย ที่ส่งตัวมาพบแพทย์เฉพาะทาง มีความสะดวก รวดเร็ว ข้อมูลถูกต้อง แม่นยำ
มีการเชื่อมโยง ผู้ป่วยประหยัดเวลา ลดการรอคอย ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ผู้ป่วยและญาติร่วมทั้งจนท.รพ.
เครือข่ายมีความพึงพอใจ
- ผู้ป่วยในเขตอำเภอเมือง โรงพยาบาลนอกสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาล
เทศบาล, โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม, โรงพยาบาลเอกชน ยังไม่ได้นัด Online เข้ามา ซึ่งจะเป็น
แผนพัฒนาต่อไป
- โรงพยาบาลเครือข่ายในเขตสุขภาพที่ 8 ได้แก่ อุดรธานี (ดำเนินการแล้ว), สกลนคร, นครพนม,
เลย, หนองคาย, หนองบัวลำภูและบึงกาฬ สามารถนัด Online เข้ามาได้
- ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ที่บ้าน เมื่อเจ็บป่วยสามารถนัด Online ผ่าน www.udh.go.th.หรือ
แอปพลิเคชัน
- ใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Tele-medicine and information sharing platform) ร่วมด้วย