Page 65 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 65

A41


                           กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีการใช้ยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลสะบ้าย้อย จังหวัด
                  สงขลาที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลสะบ้าย้อยจังหวัดสงขลา ระหว่างปี 2565-2566
                           เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วยโปรแกรม Hos XP version 4, สมุดประจำตัวผู้ป่วยที่มีการใช้ยาวาร์ฟาริน,

                  แบบประเมินผู้ป่วยที่มีการใช้ยาวาร์ฟาริน และเครื่องตรวจระดับค่า INR
                          ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่
                              1. ร้อยละINR อยู่ในช่วงเป้าหมาย (INR in target) โดยใช้วิธี Rosendaals method
                              2. ค่า TTR (Time in therapeutic range)

                              3. ร้อยละของอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
                           สถิติที่ใช้ สถิติอย่างง่ายโดยการคำนวณร้อยละ

                  ขั้นตอนการศึกษา ดังนี้
                           กิจกรรมที่ 1 อบรมการดูแลผู้ป่วยกลุ่มที่มีการใช้ยาวาร์ฟารินแบบสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลแม่ข่าย
                           โรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นแม่ข่ายและศูนย์ส่งต่อมีการจัดตั้งการอบรมวิชาการแบบกลุ่ม เพื่อให้

                  กลุ่มโรงพยาบาลชุมชนลูกข่ายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยที่มีการใช้ยาวาร์ฟาริน เสริมสร้าง
                  การทำงานแบบสหวิชาชีพเพื่อการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม และสามารถนำแนวทางการดูแลผู้ป่วยไปปรับใช้
                  กับโรงพยาบาลของตนเองได้ ซึ่งจากการเข้าอบรมทั้งแพทย์ เภสัชกรและพยาบาลทำให้มีความรู้เฉพาะด้าน
                  เพิ่มขึ้น มีความเข้าใจและมั่นใจในการให้บริการผู้ป่วยมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการขอความร่วมมือในการทำ

                  อัลตร้าซาวน์หัวใจโดยใช้คลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiogram) ในผู้ป่วยวาร์ฟารินที่มีการเริ่มการใช้ยา
                  ในโรงพยาบาลชุมชน เพื่อช่วยในการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
                           กิจกรรมที่ 2 ออกแบบระบบการวางแผนการดำเนินงานของคลินิก
                             - ออกแบบแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีการใช้ยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลสะบ้าย้อย จังหวัด

                               สงขลา
                             - กำหนดกลุ่มเป้าหมายของการให้บริการของคลินิกวาร์ฟาริน  โดยแบ่งการให้บริการออกเป็น
                               3 กลุ่ม

                             กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ป่วยที่มีการเริ่มใช้ยาวาร์ฟาริน ณ โรงพยาบาลสะบ้าย้อย (New case Warfarin
                  user) มีการประเมินก่อนการเริ่มยาวาร์ฟารินทั้งข้อบ่งใช้, CHA2DS2-VASc score, HAS-BLED score
                  และ PPS score การซักประวัติการใช้ยาก่อนหน้า พบทันตแพทย์และโภชนากร ก่อนเริ่มใช้ยา
                             กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ป่วยที่มีการใช้ยาวาร์ฟารินมาจากโรงพยาบาลอื่น เช่น โรงพยาบาลหาดใหญ่
                  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลยะลา หรือโรงพยาบาลปัตตานี (Old case

                  Warfarin user)
                             กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ป่วยที่มีการใช้ยาวาร์ฟารินที่ได้รับการรักษาแบบนอนโรงพยาบาล (In-Patient
                  Warfarin User)

                             - ออกแบบแบบบันทึกการใช้ยาวาร์ฟารินให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะราย ประกอบด้วยข้อมูลเบื้องต้น
                               ของผู้ป่วย การประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วย, Warfarin control chart, แบบบันทึก
                               การบริบาลทางเภสัชกรรม ให้บริการซักประวัติโดยพยาบาลและพบเภสัชกรเพื่อซักประวัติ
                               การใช้ยา พบแพทย์ โดยเป็นแพทย์หมุนเวียน และรับยากลับบ้าน

                             - ปรับปรุงให้มีเภสัชกรประจำคลินิกในการทบทวนประวัติการใช้ยา ค้นหาปัญหาจากการใช้ยา
                               ให้คำแนะนำในการปรับขนาดยาแก่แพทย์และจัดให้มีการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย
                           กิจกรรมที่ 3 ทบทวนผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานคลินิกวาร์ฟาริน
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70