Page 67 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 67

A43


                  การพัฒนาระบบบริการโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในโรงพยาบาลชุมชน

                                                                                        นายแพทย์วรากร คำน้อย
                                                                 โรงพยาบาลพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เขตสุขภาพที่ 4

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                           โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญของของประชากร
                  ไทย และจากข้อมูลสถิติย้อนหลังของโรงพยาบาลพัฒนานิคมพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะ STEMI ใน
                  โรงพยาบาลนั้นมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาทั้งการให้ยาเปิดหลอดเลือดหัวใจและการประสานส่งต่อไปทำ

                  primary PCI ทำให้ทีมโรงพยาบาลได้เล็งเห็นถึงโอกาสพัฒนาระบบการให้บริการโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
                  เฉียบพลันชนิด STEMI เพื่อทำให้ประชาชนในพื้นที่ให้บริการมีโอกาสเข้าถึงการรักษาโดยยาเปิดหลอดเลือด
                  หัวใจ และการประสารส่งต่อไปทำ primary PCI ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อหวังผลลัพธ์สูงสุด คือ อัตราการเสียชีวิต
                  ด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ลดลง

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                           1. เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในโรงพยาบาล

                  พัฒนานิคม
                           2. เพื่อเพิ่มอัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI
                  ในโรงพยาบาลพัฒนานิคมตามมาตราฐานเวลาที่กำหนด (30 นาที)
                           3. เพื่อเพิ่มอัตราการส่งต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMIในโรงพยาบาลพัฒนา
                  นิคม ไปทำ Primary PCI ตามมาตราฐานเวลาที่กำหนด (30 นาที)

                  วิธีการศึกษา

                           เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study)
                           ประชากร คือ ผู้ป่วยที่ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI
                  ในโรงพยาบาลพัฒนานิคม ตั้งแต่เดือนเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2566
                           กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด
                  STEMI ในโรงพยาบาลพัฒนานิคม ตั้งแต่เดือนเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 โดย

                  เลือกเฉพาะเจาะจงการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA/Streptokinase) และ Primary PCI ตามความเห็น
                  ของแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลแม่ข่าย
                           การรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน
                           การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ข้อมูลแบบแจงนับ (categorical data) จะถูก

                  นำเสนอเป็นจำนวน และร้อยละ
                  ผลการศึกษา
                  ตารางที่ 1 แสดงผลการศึกษาผลการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI

                                             ผลการศึกษา                               2564      2565     2566

                   อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI    6.4    3.2      3.7

                   อัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลา 30 นาที หลังจากวินิจฉัย     75       83.3      92.5

                   อัตราการส่งต่อผู้ป่วยไปทำ Primary PCI ภายใน 30นาที                  72        70       91.6
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72