Page 68 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 68
A44
อภิปรายผล
การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในโรงพยาบาลพัฒนานิคม ซึ่งเป็น
โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก เน้นการวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยเพิ่มความตระหนักในการคัดกรอง
และการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะหัวใจขาดเลือดอย่างรวดเร็ว เพื่อทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา
ตามข้อบ่งชี้อย่างรวดเร็ว โดยมีการเพิ่มศักยภาพในการให้ยาสลายลิ่มเลือดที่โรงพยาบาลก่อนจะทำการส่งต่อ
ผู้ป่วย โดยคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลแม่ข่ายผ่านระบบปรึกษาส่งต่อ โดยมีการบริหารยา
ละลายลิ่มเลือดตามมาตราฐานโดยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป เภสัชกร และพยาบาล ทำให้อัตราการได้รับยา
ละลายลิ่มเลือดภายในเวลา 30 นาที หลังจากถูกวินิจฉัยเพิ่มสูงขึ้น ในปี 2564, 2565 และ 2566 คือ ร้อยละ
75 ,83.3 และ 92.5 ตามลำดับ นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังได้มีการพัฒนาระบบประสานส่งต่อกับ
โรงพยาบาลเครือข่ายที่สามารถทำ Primary PCI ได้อย่างรวดเร็ว โดยลดขั้นตอนการส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล
จังหวัดซึ่งไม่สามารถทำ primary PCI ได้ ส่งผลทำให้อัตราการส่งต่อผู้ป่วยไปทำ Primary PCI ภายใน 30นาที
เพิ่มสูงขึ้น ในปี 2564, 2565 และ 2566 คือ ร้อยละ 72 , 70 และ 91.6 ตามลำดับ ซึ่งกระบวนการทั้งหมด
ข้างต้นทำให้ อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ลดลงในปี 2564,
2565 และ 2566 ลดลง คือ ร้อยละ 6.5% , 3.2%และ 3.7% ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ
ระบบบริการโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในโรงพยาบาลชุมชนนั้นมีข้อจำกัด
ในการรักษาผู้ป่วยตามข้อบ่งชี้ทั้งการให้ยาสลายลิ่มเลือดและการส่งต่อไปทำ primary PCI อย่างรวดเร็วส่งผล
ทำให้โอกาสเกิดข้อแทรกซ้อนและเสียชีวิตได้มาก ทำให้โรงพยาบาลพัฒนานิคมซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ไม่มีอายุร
แพทย์ประจำได้มีการเพิ่มศักยภาพในการให้ยาสลายลิ่มเลือดให้แก่ผู้ป่วยก่อนทำการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแม่
ข่ายตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลแม่ข่าย รวมทั้งมีการพัฒนาระบบประสานส่งต่อกับ
โรงพยาบาลเครือข่ายที่สามารถทำ Primary PCI ได้อย่างรวดเร็ว โดยลดขั้นตอนการส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล
จังหวัดซึ่งไม่สามารถทำ primary PCI ได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามข้อบ่งชี้อย่างรวดเร็วและอัตราการ
เสียชีวิตที่ลดลง