Page 755 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 755

S10


                           1) แบบบันทึกข้อมูลกัญชาทางการแพทย์ C-MOPH ครั้งที่ 1 (v.23/09/19), แบบรายงานข้อมูล
                  กัญชาทางการแพทย์ C-MOPH ครั้งถัดไป (v.23/09/19) และเวชระเบียนคนไข้ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกประคองรักษ์

                  และคลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลแพร่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565
                           2) มาตรวัดความปวดชนิดที่เป็นตัวเลข (numerical rating scale : NRS) แบ่งออกเป็นหมายเลข
                  คะแนน 0-10 ซึ่ง 0 หมายถึง ไม่มีอาการปวด และ 10 หมายถึง มีอาการปวดมากที่สุด
                         สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                         1) ใช้สถิติพรรณนา (Descriptive statistic) วิเคราะห์อธิบายคุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
                  ยาบรรเทาปวดที่ผู้ป่วยได้รับ และรูปแบบน้ำมันกัญชาที่ผู้ป่วยได้รับ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางแจกแจง
                  ความถี่ ร้อยละ คำนวณค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                         2) การติดตามระดับความปวดในแต่ละครั้ง ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกประคองรักษ์ ระหว่างกลุ่ม
                  ที่ได้รับการรักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวดสูตรมาตรฐาน (Standard group) และกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย
                  น้ำมันกัญชาร่วมกับยาบรรเทาอาการปวดสูตรมาตรฐาน (Combined group)
                         3) การเปรียบเทียบระดับความปวด ระหว่างกลุ่มได้รับการรักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวดสูตร
                  มาตรฐาน (Standard group) และกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยน้ำมันกัญชาร่วมกับยาบรรเทาอาการปวดสูตร

                  มาตรฐาน (Combined group) ในแต่ละครั้งที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกประคองรักษ์ เมื่อเทียบกับครั้งแรก
                  ที่ได้รับการรักษา

                  ผลการศึกษา
                         จำนวนผู้ป่วยในการศึกษาทั้งหมด 132 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยาบรรเทา

                  อาการปวดสูตรมาตรฐาน 100 ราย และกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยน้ำมันกัญชาร่วมกับยาบรรเทาอาการปวด
                  สูตรมาตรฐาน 32 ราย ทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่มีระดับความปวดในครั้งแรกที่เข้ารับการรักษา 4-7 คะแนน
                  ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย อยู่ระหว่าง 40-70% และอาการเจ็บป่วยที่พบมากที่สุด
                  คือ มะเร็งท่อน้ำดี รองลงมา คือ มะเร็งปอด และมะเร็งอัณฑะ ตามลำดับ ยาบรรเทาปวดที่ผู้ป่วยได้รับ ส่วนใหญ่ คือ

                  Morphine และในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับน้ำมันกัญชา มีรูปแบบ น้ำมันกัญชาหมอเดชา จำนวน 7 ราย (21.88%),
                  น้ำมันกัญชา THC 1.7% อภัยภูเบศร จำนวน 21 ราย (75.00%) และน้ำมันกัญชา THC : CBD (2.7% : 2.5%)
                  THC:CBD = 1:1 จำนวน 1 ราย (3.12%) การติดตามระดับความปวดของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกประคองรักษ์
                  ระหว่างกลุ่ม Standard group และกลุ่ม Combined group จำนวน   6 ครั้ง พบว่า ในทั้ง 2 กลุ่มมีระดับความปวด

                  ในแต่ละครั้งที่เข้ารับการรักษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.099, 0.917, 0.362, 0.740,
                  0.870 และ 0.613 ตามลำดับ)  และเมื่อเปรียบเทียบระดับความปวดของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละครั้ง
                  เทียบกับเมื่อเริ่มรักษาครั้งแรก พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีค่าความแตกต่างของระดับความปวดเฉลี่ย ในแต่ละครั้งที่
                  เข้ารับการรักษาเมื่อเทียบกับครั้งแรก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.152, 0.993, 0.862,

                  0.890 และ 0.286 ตามลำดับ)

                  อภิปรายผล
                         ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ยาบรรเทาอาการปวดสูตรมาตรฐาน และการใช้น้ำมันกัญชา
                  รูปแบบหยดใต้ลิ้นร่วมกับการใช้ยาบรรเทาอาการปวดสูตรมาตรฐาน สามารถลดระดับความปวดได้ไม่แตกต่าง

                  กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบระดับความปวดในแต่ละครั้งที่เข้ารับการรักษาที่คลินิก
                  ประคองรักษ์เมื่อเทียบกับครั้งแรกของทั้งสองกลุ่ม พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
   750   751   752   753   754   755   756   757   758   759   760