Page 757 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 757

S12


                      ประสิทธิผลของน้ำมันกัญชา กรณีศึกษาในผู้ป่วย Palliative Care ที่ได้รับยามอร์ฟีน
                                          อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                  The Effectiveness of Cannabis Oil, Cases Study in Palliative Care received morphine

                                       Nakhon Luang , Phra Nakhon Sri Ayutthaya


                                                                                       นางสาวรัตติกาล  คุณพระ
                                                               สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี

                                                 ตำบลนครหลวงเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขตสุขภาพที่ 4
                                                                                               ประเภทวิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเป็นการดูแลที่มีความซับซ้อนในการตอบสนองทั้งด้านร่างกาย
                  และจิตใจ เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ป่วยคลายทุกข์ คลายความกลัว คลายความกังวล มีความเข้าใจและยอมรับ
                  การเจ็บป่วยใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีคุณภาพชีวิตที่ดีจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต โดยผู้ป่วยและญาติ

                  เป็นผู้ตัดสินใจที่จะรับหรือไม่รับการบำบัดรักษานั้น ซึ่งเป็นการดูแลที่ต้องอาศัยการบูรณาการศาสตร์
                  องค์ความรู้และความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ
                         ปัญหาของผู้ป่วยแบบประคับประคอง ส่วนใหญ่จะมีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวด เป็นต้น
                  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับยานอนหลับ ยาแก้ปวด(มอร์ฟีน) แต่อาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวด อาจดีขึ้นเพียง

                  เล็กน้อยหรือบางรายไม่ดีขึ้น
                         สมัยโบราณทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้ยาตำรับกัญชาเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
                  2 ตำรับ ได้แก่ ยาศุขไสยาสน์และน้ำมันกัญชา ปัจจุบันยาตำรับกัญชาทั้ง 2 ตำรับนี้ ได้ถูกกำหนดไว้ในบัญชี
                  ยาหลักแห่งชาติ โดยมีข้อบ่งใช้แก้อาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวดเรื้อรัง  แต่ยาศุขไสยาสน์มีลักษณะทั้งเป็น

                  ผงและเม็ดแคปซูล จึงไม่สะดวกต่อการบริโภคของผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้าย น้ำมันกัญชาเป็นของเหลว
                  ซึ่งง่ายต่อการกลืน
                         ในบทบาทของแพทย์แผนไทยจึงศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อจะได้มีทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วย

                  ประคับประคองระยะสุดท้าย
                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1)เพื่อศึกษาระดับความปวด
                         2)เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับ
                         3)เพื่อศึกษาความอยากอาหาร

                         4)เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต
                  วิธีการศึกษา

                         ศึกษาในผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายซึ่งได้รับการวินิจฉัย Z515 และได้รับยามอร์ฟีน
                  รับบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลนครหลวง
                  จำนวน 5 ราย  ที่มีอาการปวด นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ซึ่งได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือญาติ

                  และแพทย์เจ้าของไข้ ได้ศึกษาประวัติการรักษาและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อน จากนั้นให้รับประทาน
                  น้ำมันกัญชา(ตำรับหมอเดชา) ซึ่งเป็นสารสกัดกัญชาในน้ำมันมะพร้าว ความเข้มข้น 10% ของน้ำหนัก
   752   753   754   755   756   757   758   759   760   761   762