Page 756 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 756
S11
แต่ทั้งนี้มีข้อจำกัดในการเก็บข้อมูล เนื่องจากเป็นการเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง ทำให้มีข้อมูลบางส่วน
ไม่สมบูรณ์ รวมถึงภาวะโรค ระยะของโรค และความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอาจมีผลต่อยา การเลือกใช้
ยาบรรเทาปวดสูตรมาตรฐาน การปรับขนาดยา และรูปแบบของยาได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิผล
ของการศึกษาได้ ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาแบบ prospective randomized control trial ที่มีการออกแบบ
ระเบียบวิธีวิจัย และดำเนินการวิจัยตามหลักการอย่างเคร่งครัด โดยไม่มีปัจจัยรบกวนที่มีผลต่อผลลัพธ์
ของการรักษา เพื่อให้สามารถพิสูจน์ความชัดเจน และเปรียบเทียบผลได้อย่างถูกต้อง ทั้งประสิทธิผลในการ
จัดการความปวด ความปลอดภัยกับการนำมาใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความปวดเรื้อรัง และกลุ่มที่มีอาการปวดจาก
มะเร็ง
อย่างไรก็ตามในการศึกษานี้ยังขาดข้อมูลเรื่องความปลอดภัยในการใช้ยาบรรเทาอาการปวด และการใช้
ยาบรรเทาอาการปวดร่วมกับการใช้น้ำมันกัญชารูปแบบหยดใต้ลิ้นในผู้ป่วยประคับประคอง ดังนั้น การศึกษา
การเปรียบเทียบความสามารถในการลดปวดในผู้ป่วยที่ได้รับน้ำมันกัญชาร่วมกับยาบรรเทาปวดมาตรฐาน
และการได้รับยาบรรเทาปวดมาตรฐานเพียงอย่างเดียว มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในระยะต่อไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะยาว
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุปผล
การใช้ยาบรรเทาอาการปวดสูตรมาตรฐาน และการใช้น้ำมันกัญชารูปแบบหยดใต้ลิ้นร่วมกับการใช้ยา
บรรเทาอาการปวดสูตรมาตรฐาน สามารถลดระดับความปวดได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
และเมื่อเปรียบเทียบระดับความปวดในแต่ละครั้งที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกประคองรักษ์ เมื่อเทียบกับครั้งแรก
ของทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ