Page 758 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 758

S13


                  ช่อดอกกัญชาแห้ง (THC 2.0 mg/ml ± 20%) เริ่มต้นหยดใต้ลิ้น ครั้งละ 1 หยด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
                  ติดตามอาการ(ทางโทรศัพท์หรือ Line, Google form) และปรับขนาดยาทุก 1 สัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์
                  ประเมินระดับความปวด คุณภาพการนอนหลับ ความอยากอาหาร  และคุณภาพชีวิตก่อน-หลัง

                  พร้อมเฝ้าระวังความปลอดภัย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2566
                  โดยเก็บข้อมูลทีละราย

                  ผลการศึกษา
                         ผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 5 ราย เป็นเพศหญิง 3 ราย เพศชาย 2 ราย อายุอยู่ในช่วง 61–72 ปี
                  ทั้ง 5 ราย ป่วยด้วยโรคมะเร็ง รายที่ 1 มะเร็งตับ รายที่ 2 มะเร็งปอดลุกลามไปตับและหัวใจ) รายที่ 3 มะเร็ง

                  ลำไส้ลุกลามไปตับและปอด รายที่ 4 มะเร็งปอดเหลือเนื้อปอดดีร้อยละ 25 รายที่ 5 มะเร็งเต้านมลุกลาม
                  ไปกระดูก ทุกรายมีอาการปวด นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร และได้รับยามอร์ฟีน จากการศึกษา พบว่า ทั้ง 5 ราย
                  ใช้น้ำมันกัญชาในขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ 1 หยด ถึง 7 หยด จึงมีการเปลี่ยนแปลงของอาการ ระยะเวลาที่
                  เก็บข้อมูลได้จริงแตกต่างกันในแต่ละราย เนื่องจากผู้ป่วยเข้าสู่ GOOD DEAD ทุกรายไม่พบอาการไม่พึงประสงค์

                  หลังใช้น้ำมันกัญชา ระดับความปวด(NRS) ลดลง 3 ราย คงเดิม 2 ราย คะแนนการนอนหลับลดลงทั้ง 5 ราย
                  โดย 2 ราย ไม่มีปัญหาการนอนหลับแล้ว ความอยากอาหาร เพิ่มขึ้น 2 ราย (ความต้องการในเมนูอาหารเพิ่มขึ้น
                  รับประทานอาหารบ่อยขึ้นแต่ปริมาณยังคงเดิม) คงเดิม 3 ราย คะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นในระยะแรกและ
                  ทรงตัวในระยะถัดไปทั้ง 5 ราย จากนั้นเข้าสู่ระยะ GOOD DEAD ทุกราย

                  อภิปรายผล

                         การใช้น้ำมันกัญชากับผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายที่ใช้มอร์ฟีนอยู่แล้ว แต่การตอบสนอง
                  ต่อมอร์ฟีนไม่ดีเท่าที่ควรนั้น ไม่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ อีกทั้งส่งผลให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ดีขึ้น
                  มีคุณภาพชีวิตในช่วงบั้นปลายดีขึ้น สอดคล้องกับการศึกษาการดูแลผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้าย

                  ที่ใช้มอร์ฟีนด้วยการใช้น้ำมันกัญชา(ตำรับหมอเดชา) ของนายแพทย์เฉลียว สัตตมัย รองผู้อำนวยการด้าน
                  LONG TERM CARE และ PALLIATIVE CARE โรงพยาบาลสุรินทร์

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         สรุป การใช้น้ำกัญชากับผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายไม่มีผลความเจ็บปวดและความอยาก
                  อาหาร  มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้น และเข้าสู่การสิ้นใจ

                  อย่างสงบ คลายกังวลได้ทั้งผู้ป่วยและญาติ
                         ข้อเสนอแนะ ควรส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยให้รวดเร็ว เพื่อความรวดเร็วทันเวลาในการให้บริการ ป้องกันการ
                  เสียสิทธิ์การเข้าถึงบริการของผู้ป่วย
   753   754   755   756   757   758   759   760   761   762   763