Page 761 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 761
S16
การแพทย์ร่วมรักษา ทดสอบความเชื่อมั่น โดยวิธีอัลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.63, 0.77 และ0.89 ตามลำดับ
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนซ้ำ (Repeated Measure ANOVA)
ผลการศึกษา
1.กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.0 มีอายุช่วง 40-60ปี ร้อยละ 60.0 การศึกษาระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 53.3 ไม่ได้ทำงาน ร้อยละ 86.7 ไม่ใช้สารเสพติด ร้อยละ 73.3 เป็นมะเร็งเต้านม (CA Breast) และ
ปากมดลูก (CA Cervix) ร้อยละ 26.7, 26.7 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการความปวดและเข้าใจดี ร้อยละ
93.3 และมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Palliative performance scale for
adult Suandok: PPS score) เพิ่มขึ้นหลังใช้น้ำมันกัญชาร่วมรักษา (ก่อนใช้ฯ 46.0, S.D15.49, หลังใช้ฯ
สัปดาห์ที่ 2 48.67, S.D17.67, สัปดาห์ที่ 4 49.33, S.D22.51, สัปดาห์ที่ 8 50.67, S.D24.63)
2.ระดับคะแนนเฉลี่ยความปวดเรื้อรังของผู้ป่วยก่อนและหลังใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษาลดลง
จาก21.20ก่อนใช้ฯ เป็น 11.47ในสัปดาห์ที่8 และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบ
รายคู่ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่
ก่อนใช้น้ำมันกัญชาฯ สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 8
ก่อนใช้น้ำมันกัญชาฯ -
สัปดาห์ที่ 2 4.93* -
สัปดาห์ที่ 4 8.73* 3.80* -
สัปดาห์ที่ 8 9.73* 4.80* 1.00* -
*.05
3.กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต หลังใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษาเพิ่มขึ้นจาก .02ก่อนใช้ฯ
เป็น.57 ในสัปดาห์ที่ 8 และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ดังตารางที่2
ตารางที่ 6 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่
ก่อนใช้น้ำมันกัญชาฯ สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 8
ก่อนใช้น้ำมันกัญชาฯ -
สัปดาห์ที่ 2 .296* -
สัปดาห์ที่ 4 .518* .223* -
สัปดาห์ที่ 8 .554* .258* .036* -
*.05
4. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดเรื้อรัง ในระดับมากที่สุด ( 4.81, S.D .27)
อภิปรายผล
1. ระดับความปวดก่อนและหลังใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษาในผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยระยะท้าย
พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีระดับความปวดเรื้อรังลดลงในสัปดาห์ที่2, 4 และ 8
สอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่า กัญชาทำให้ระดับของสารเซโรโทนิน (Serotonin) เพิ่มขึ้น ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้น
ระบบยับยั้งความรู้สึกปวดที่ส่งสัญญาณกลับมาจากสมองในกลไกที่เรียกว่าปรับสัญญาณ (Modulation)
เกิดผลดีในการบรรเทาความปวด (นุสรา ประเสริฐศรี และคณะ, 2564)