Page 762 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 762

S17


                  2. คุณภาพชีวิตก่อนและหลังใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษาในผู้ป่วยมะเร็งและมะเร็งระยะท้าย
                  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีคุณคะแนนคุณภาพชีวิตดีขึ้นในสัปดาห์ที่ 2, 4 และ 8 ซึ่งคุณภาพ
                  ชีวิตของผู้ป่วยแต่ละคนเป็นการตัดสินโดยใช้การรับรู้ต่อสถานการณ์หนึ่งๆ ของแต่ละบุคคล คุณภาพชีวิต
                  แต่ละคนจึงมีองค์ประกอบและลำดับความสำคัญแตกต่างกัน มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่บุคคลนั้น

                  เผชิญอยู่ ดังนั้นเมื่อใช้กัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษาและสามารถลดความปวด บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
                  รับประทานอาหารได้ นอนหลับ ความวิตกกังวลลดลง ส่งเสริม ให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เพิ่มขึ้น
                  จึงทำให้คะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น (จันทนา พัฒนเภสัช, 2560; ปิยะวัฒน์  ตรีวิทยา, 2559; อุษณี อินทุวรรณ
                  และคณะ, 2565)

                  3. ความพึงพอใจของผู้ป่วย/ญาติต่อการจัดการความปวด หลังใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษาอยู่
                  ในระดับมากที่สุด (  =4.82, S.D.=.27)  ซึ่งอธิบายได้ว่าเมื่อผู้ป่วยมีความปวดลดลง คุณภาพชีวิตดีขึ้น
                  มีความสุขสบายดี จึงเท่ากับบรรลุเป้าหมายตามความคาดหวัง ความพึงพอใจจึงอยู่ในระดับมากที่สุด

                  ซึ่งสอดคล้องแนวคิดของวลูม (Vroom, 1964) ที่กล่าวว่าความเข้าใจในเป้าหมายตามความต้องการเฉพาะ
                  บุคคล การจูงใจที่เหมาะสม และตรงกับวัตถุประสงค์จะทำให้เกิดพฤติกรรมที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย
                  ตามที่ต้องการจึงเกิดความรู้สึกที่มีความสุข และเกิดเป็นความพึงพอใจ

                  สรุปและข้อเสนอแนะ :
                      1. นำผลงานวิจัย เสนอคณะกรรมการจัดการความปวด และคณะกรรมการกัญชาทางการแพทย์

                  โรงพยาบาลชลบุรี พิจารณาใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ วางแผนส่งเสริมให้พยาบาล
                  มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการเฝ้าระวังอาการข้างเคียง และการให้คำแนะนำช่วยเหลือเบื้องต้น รวมทั้งจัดทำ
                  แนวปฏิบัติทางคลินิกเรื่องการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับน้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษา เพื่อสร้างความมั่นใจกับ

                  ผู้ป่วยและญาติในการใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษาอย่างปลอดภัยควร
                      2. การศึกษาครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาผลการใช้น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษา เปรียบเทียบกับกลุ่ม
                  ที่ใช้เพียง Opioids ลดความปวดในผู้ป่วยมะเร็งและมะเร็งระยะท้าย
   757   758   759   760   761   762   763   764   765   766   767