Page 781 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 781
T7
อยู่สบาย ตายดี มีความสุขที่บ้าน
แพทย์หญิงจิราภา คชวัฒน์ นางสาวสิริกร คนชุม และคณะ
โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขตสุขภาพที่13
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
Palliative Care หรือการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคอง เป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้ป่วย
ไม่ทุกข์ทรมานเมื่อโรคเข้าสู่ระยะสุดท้าย จุดมุ่งหมายของการดูแล คือ การดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ที่เจ็บป่วย
ด้วยโรคที่รักษาไม่หายหรือโรคเข้าสู่ระยะสุดท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ โดยเน้นการ
จัดการอาการรบกวนของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลแบบประคับประคองเน้นการดูแลด้านจิตใจ สังคม
และจิตวิญญาณ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากไปอย่างสงบและไม่ทุกข์ทรมานการตายดีหรือการมีสุขภาวะ
ในระยะท้ายของชีวิต (Good death) หมายถึง การตายอย่างสงบ จิตใจไม่ทุกข์ทรมาน ไม่ทุรนทุรายในวาระ
สุดท้ายของชีวิต โดยได้รับการจัดการบรรเทาอาการและความทุกข์ทรมาน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
อย่างเหมาะสมเพียงพอ ได้รับการดูแลทางจิตวิญญาณตรงกับความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรมของตนเอง รวมถึงได้
ทำสิ่งต่าง ๆ ที่คั่งค้าง โดยผู้ป่วยสามารถแสดงเจตนาของตนเองว่าต้องการให้มีการดูแลในระยะสุดท้ายอย่างไร
เพื่อให้เสียชีวิตอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
โรงพยาบาลสิรินธร มีทีมสหสาขาวิชาชีพและมีศักยภาพในการให้บริการผู้ป่วยขนาด 400 เตียง
ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยกำหนดให้เป็นเข็มมุ่งของโรงพยาบาล จากการ
รวบรวมข้อมูลสถิติการให้บริการผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ได้รับการดูแลจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในปีงบประมาณ
2564, 2565 และ 2566 มีจำนวน 477, 197 และ 556 ราย ตามลำดับ จากการดำเนินการ พบว่าผู้ป่วย
ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิตมักมีความต้องการกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน
ท่ามกลางครอบครัว แต่ด้วยสมรรถนะทางร่างกายของผู้ป่วยกลุ่มนี้ลดลง ไม่สามารถรับประทานยาเพื่อจัดการ
อาการรบกวนได้ด้วยตนเอง และอาการรบกวนนี้ทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมาน จนทำให้ครอบครัวไม่สามารถ
ทนดูผู้ป่วยทุกข์ทรมาน และไม่สามารถยอมรับให้ผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้านได้ตามความต้องการของผู้ป่วยที่ตั้งไว้
ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยบรรลุความต้องการของตนเองในช่วงสุดท้ายของชีวิตและสามารถกลับไปเสียชีวิตอย่างสงบ
ที่บ้านได้ตามความต้องการ ในฐานะทีมที่ดูแลผู้ป่วยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
ให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปอยู่ที่บ้านอย่างมีความสุขหรือเสียชีวิตอย่างสงบที่บ้านได้แบบ “อยู่สบาย ตายดี
มีความสุขที่บ้าน”
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการจัดการอาการรบกวน สามารถกลับไปเสียชีวิตที่บ้านได้ตามความ
ต้องการ และผู้ดูแลสามารถจัดการอาการรบกวนของผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการศึกษา
การศึกษาเชิงพัฒนา (Action research) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง กลุ่ม
ตัวอย่างเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีความต้องการกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยมีเกณฑ์
การคัดเข้า คือ ผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองมีความประสงค์กลับไปเสียชีวิต ที่บ้าน
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง (PPS) น้อยกว่า 30 มีอาการปวดและเหนื่อยหอบคงที่ และสมัครใจเข้า
ร่วมกิจกรรม และยินยอมให้ติดตามเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ สถิติที่
ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage)
1. การพัฒนารอบที่ 1 ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีความต้องการกลับไปเสียชีวิตที่บ้านไม่สามารถ
รับประทานยาเพื่อจัดการกับอาการรบกวนทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน เป็นสาเหตุหลักที่ผู้ป่วยต้องกลับมานอน