Page 782 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 782

T8


                  โรงพยาบาล ทีมดูแลแบบประคับประคองได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา พบว่าการนำอุปกรณ์บริหารยาใน
                  กลุ่ม Opioid ผ่านทางใต้ผิวหนัง (syringe driver) จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับอาการรบกวน
                  และอยู่บ้านได้ตามความต้องการ ทีมเสนอผู้บริหารเพื่อจัดซื้อ syringe driver และประชุมร่วมกับทีมอายุรก
                  รรม ศัลยกรรม และกุมารเวชกรรม เพื่อร่วมปรึกษาในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและร่วมกับกลุ่มงานเภสัช

                  กรรมจัดทำระบบการนำยากลุ่ม Opioid แบบฉีดกลับไปใช้ที่บ้าน เพื่อจัดการอาการรบกวน
                         2. การพัฒนารอบที่ 2 จากการดำเนินการ พบว่า การใช้ syringe driver มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการ
                  บริหารยา ผู้ดูแลต้องมารับยาที่โรงพยาบาลในวันและเวลาราชการทุกวันจนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิต ทำให้เกิด
                  ความไม่สะดวกแก่ผู้ดูแล อุปกรณ์มีราคาแพง และเกิดความเสียหายได้ง่าย ทีมจึงร่วมกันค้นหาแนวทางและ

                  เทคโนโลยีใหม่ ๆ พบว่าการบริหารยาผ่านทางใต้ผิวหนังด้วย surfuser นั้นมีข้อดี คือ ใช้งานง่าย บริหารยาได้ 3
                  วัน ราคาถูกใช้แล้วทิ้ง เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตสามารถทิ้งอุปกรณ์ได้เลย แต่กรณียาหมดนอกเวลาราชการผู้ดูแลต้อง
                  มารับยานอกเวลาราชการ ปัญหาที่พบ คือ เรื่องการบริหารยาและสถานที่ในการรับยานอกเวลาราชการ

                  เนื่องจากทีมดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองไม่ได้ปฏิบัติงานนอกเวลา
                         3. การพัฒนารอบที่ 3 ทีมได้ปรึกษากับฝ่ายการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหากรณียาหมดนอกเวลาราชการ
                  และสถานที่ที่ผู้ดูแลต้องมารับยานอกเวลาราชการ ได้ข้อตกลงร่วมกัน คือ จัดให้หอผู้ป่วยพิเศษ 6/1เป็นจุด
                  บริหารยาและรับยาของผู้ดูแลนอกเวลาราชการ เนื่องด้วยบริบทเป็นหอผู้ป่วยพิเศษ มีความเงียบ และสงบ มี
                  พยาบาล (PCN) ประจำหน่วยงาน และเพื่อให้การบริหารยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จัดให้มีการสอนการ

                  บริหารยา Opioid ด้วยsurfuser แก่พยาบาลทุกคนของหอผู้ป่วยพิเศษ 6/1 และจัดทำโปสเตอร์การใช้งาน
                  surfuser ไว้ให้ เพื่อช่วยให้พยาบาลทุกคนสามารถใช้งาน surfuser ในการบริหารจัดการยา      ได้อย่างถูกต้อง
                  ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขผู้ดูแลมีความสะดวกและดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ตามเป้าหมาย

                         4. การพัฒนารอบที่ 4 ปัญหาสำคัญที่ยังเป็นประเด็นหลัก คือ ผู้ดูแลส่วนใหญ่ยังขาดความมั่นใจ    ใน
                  การดูแลผู้ป่วย กลัว ไม่สามารถจัดการกับอาการรบกวนเบื้องต้นที่บ้านได้ ทางทีมจึงมีการประสานกับ กลุ่มงาน
                  เวชศาสตร์ชุมชน และสร้างเครือข่ายร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน      เพื่อประเมิน
                  ความสามารถของผู้ดูแลและให้การช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาในการดูแลผู้ป่วย โดยสื่อสารผ่านระบบ BMA home

                  ward และ LINE application เพื่อให้กระบวนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องไร้รอยต่อ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
                  ลดปัญหาค่าใช้จ่ายและความแออัดในโรงพยาบาล โดยปี พ.ศ.2564 – 2566 มีผู้ป่วยส่งต่อเยี่ยมบ้านผ่านระบบ
                  BMA home ward จำนวน 105, 96 และ 118 ราย ตามลำดับ และช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องกลับมาโรงพยาบาล
                  ผู้ดูแลมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองความต้องการสุดท้าย คือ การ

                  เสียชีวิตที่บ้านท่ามกลางความรักของครอบครัว
                  ผลการศึกษา
                         ผลการศึกษาพบว่า ในปี พ.ศ. 2564 – 2566 ผู้ป่วยสามารถกลับไปเสียชีวิตที่บ้านตามความต้องการ
                  โดยได้รับการบริหารยาผ่านทางใต้ผิวหนัง คิดเป็นร้อยละ 90, 92 และ 95 (ภาพที่ 1)


                                           ข้อมูลจ ำนวนผู้ป่วยระยะท้ำยที่ได้กลับไปเสียชีวิตที่บ้ำน
                                                 และได้รับกำรบริหำรยำทำงใต้ผิวหนัง


                       50
                                     20                     25                             40
                        0                 18                      23                       38
                                      2564                     2565                     2566
                                 จ ำนวนผู้ป่วยที่ได้กลับไปเสียชีวิตที่บ้ำน  จ ำนวนผู้ป่วยที่ได้รับกำรบริหำรยำผ่ำนทำงใต้ผิวหนัง
   777   778   779   780   781   782   783   784   785   786   787