Page 783 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 783
T9
อภิปรายผล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องการกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน สิ่งที่สำคัญ คือ การพัฒนาระบบการบริหารยาผ่าน
ทางใต้ผิวหนังเพื่อจัดการอาการรบกวน และการสร้างความมั่นใจของผู้ดูแลให้สามารถดูแลผู้ป่วย เมื่ออาการ
ทรุดลงที่บ้านได้ ดังนั้นความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกองค์กร ได้แก่ ความร่วมมือ
ระหว่างกลุ่มงาน การสร้างภาคีเครือข่ายร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขและชุมชน จะช่วยพัฒนาการดูแลผู้ป่วย
ระยะสุดท้ายที่บ้านได้ครอบคลุมมากขึ้น เกิดกระบวนการดูแลต่อเนื่องและไร้รอยต่อ มีความเชื่อมโยงระหว่าง
โรงพยาบาล บ้าน ศูนย์บริการสาธารณสุขและชุมชน ช่วยลดปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัว และเสริมสร้างความ
มั่นใจให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแลได้เป็นอย่างดี ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้ง
สามารถลดการใช้เตียงในการรับผู้ป่วย และช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลลงได้ ทำให้สามารถบริหารจัดการ
เตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็น ใช้เตียงได้ดีขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุป การพัฒนาระบบการบริหารยาผ่านทางใต้ผิวหนังที่บ้าน ช่วยให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถใช้ชีวิต
ที่บ้านอยู่กับครอบครัวได้อย่างมีความสุข ไม่มีอาการทุกข์ทรมาน และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถที่จะเสียชีวิตที่บ้าน
ท่ามกลางครอบครัวได้ตามความต้องการ ผู้ดูแลมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน และมีการสร้างภาคี
เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายขยายสู่ชุมชนอย่างเข้มแข็งและเป็นวงกว้างมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ เนื่องจากการทำงานในพื้นที่เขต 13 กรุงเทพมหานคร มีข้อจำกัดในหลาย ๆ ประเด็น ทั้ง
สภาพชุมชนแบบสังคมเมือง การแบ่งเขตพื้นที่ประชากรในการดูแล การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่
บ้านด้วยระบบการบริหารยาผ่านทางใต้ผิวหนังจะประสบความสำเร็จและขยายอย่างกว้างขวาง การมีนโยบาย
เพื่อสนับสนุนจากผู้บริหารให้สามารถเข้าถึงบริการได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือคลินิกชุมชนอบอุ่นใกล้บ้าน
โดยไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาล จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับครอบครัวได้