Page 790 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 790

T16


                                       ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ
                                        ในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดลพบุรี

                                                                                           นันท์นภัส  สกุลชูเดช
                                                                                         โรงพยาบาลพัฒนานิคม
                                                                                     จังหวัดลพบุรี เขตสุขภาพที่ 4

                                                                                               ประเภทวิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         การพลัดตกหกล้มเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมีการ
                  เปลี่ยนแปลงของระบบร่างกายตามความเสื่อมของอายุที่เพิ่มขึ้น โดยสถานการณ์การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุมี
                  แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากข้อมูลขององค์กรอนามัยโลกระบุว่าผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะมี
                  แนวโนม้ พลัดตกหกล้มร้อยละ 28-35 ต่อปี และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32-42 เมื่ออายุเข้าสู่ปีที่ 70 เป็นต้นไป

                  ดังนั้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นความเสี่ยงของการพลัดตกหกล้มจะมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
                  มีโรคประจำตัว เช่น อัมพฤกษ์อัมพาต หรือมีปัญหาเรื่องการทรงตัว (World Health Organization, 2016)
                  การเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุุสูงกว่าทุกกลุ่มอายุุใน พ.ศ. 2560–2564 ผู้สูงอายุุพลัดตกหกล้มปี

                  ละ 3,030,900–5,506,000 ราย เสียชีวิต จำนวน 5,700–10,400 รายต่อปีผลของการพลัดตกหกล้มพบว่า มี
                  อาการกระดููกข้อสะโพกหักร้อยละ 20–30 มีบาดเจ็บรุนแรงของสมองร้อยละ 5–10 เสียชีวิตร้อยละ 3.5 และ
                  สูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันร้อยละ 25–75 ครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุุที่พลัดตกหกล้มแล้วต้อง
                  เข้ารักษาในโรงพยาบาลจะเสียชีวิตในหนึ่งปีและเป็นสาเหตุุอันดับแรกของการเกิดภาวะทุพลภาพ บางคนรู้สึก
                  อาย ซึมเศร้า มีความทุกข์ทรมานอยากฆ่าตัวตาย ถ้ามีอายุุมากและมีโรคประจำตัวต้องนอนโรงพยาบาล

                  เป็นเวลานานหรือนอนติดเตียง มีผู้ดููแลตลอดไป และพบว่า 1 ใน 5 จะไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก
                            จากฐานข้อมูล ปี 2564-2566 Health Data Center อำเภอพัฒนานิคมมีประชากรทั้งหมด 10,522
                  คน, 10,677 คน, 10,700 คน ตามลำดับ และผู้สูงอายุตำบลหนองบัว จำนวน 1,039 คน, 1,065 คน, 1,079

                  คน ตามลำดับ จากการคัดกรองภาวะพลัดตกหกล้ม ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้ม จำนวน 98 คน, 82
                  คน, 30 คน
                           จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุุ จึงได้เลือกศึกษา
                  โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดลพบุรี

                  เพื่อเป็นการกระตุ้นพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุุและเป็นแนวทางพัฒนาการดำเนินงาน
                  สร้างเสริมและป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุุในชมรมอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                             เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบล
                  หนองบัว จังหวัดลพบุรี

                  วิธีการศึกษา

                        รูปแบบการศึกษา
                          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง  (Quasi  Experimental Research) โดยวัดก่อนและหลังการ
                  ทดลอง (One Group Pretest -Posttest Design)
                         การกำหนดตัวอย่าง
   785   786   787   788   789   790   791   792   793   794   795