Page 788 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 788
T14
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อเปรียบเทียบจำนวนครั้งของความถูกต้องในการประเมินคะแนน ADL และจัดกลุ่ม TAI ระหว่าง
ก่อนและหลังใช้นวัตกรรม โปรแกรม SENA ADL & TAI
2. เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการประเมินคะแนน ADL และ TAI ระหว่างก่อนและหลังใช้นวัตกรรม
โปรแกรม SENA ADL & TAI
วิธีการศึกษา
1. ศึกษาแบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เทลเอดีแอล (Barthel
ADL index) และ แบบประเมิน Typology of The Aged with Illustration (TAI) จากนั้นทีมแพทย์และสห
สาขาวิชาชีพ ดัดแปลงภาษาและข้อความให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
2. นำแบบประเมิน ADL และ TAI ไปพัฒนาเป็นโปรแกรมคำนวณ แปลผล และจัดกลุ่ม เริ่มจาก
import รายละเอียดแต่ละหัวข้อของแบบประเมิน โดย ADL ใช้แบบให้กดเลือกรายหัวข้อ ตั้งค่าบังคับให้
ประเมินทุกด้าน--> คะแนนขึ้นอัตโนมัติ (ล็อคไม่ให้คีย์ 2 ตัวเลือกในข้อเดียวกันและต้องประเมินทุกข้อ) -->
ประเมินครบทุกข้อ-->ปรากฎคะแนนรวม --> สรุปผลการประเมิน โดย คือ 0-4 คะแนนแปลผลเป็น ติดเตียง
5-11 คะแนนเป็น ติดบ้าน และ 12 คะแนนขึ้นไป ติดสังคม สำหรับ TAI ดำเนินการโดยใช้รูปแบบเดียวกัน
แสดงผล เป็นกลุ่ม
3. ทดสอบโปรแกรมจากการสมมุติสถานการณ์ผู้ป่วย และสภาพผู้ป่วยจำนวน 10 ราย โดยให้แพทย์
พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 5 คน (รวม 50 ครั้ง) ตรวจสอบผลการคำนวณ แปลผล และจัดกลุ่ม
ปรับโปรแกรมให้ใช้งานได้คงที่ ปรับ Font และการแสดงผลให้มองเห็นได้ง่าย และสะดวก
4. เก็บข้อมูลก่อนใช้นวัตกรรม โดยให้แพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 10 คน สุ่มเลือก
สถานการณ์สมมุติคนละ 5 ราย จากการ์ด 10 ราย (รวม 50 ครั้ง) คำนวณ แปลผลและจัดกลุ่มด้วยตนเอง บันทึก
ข้อมูลความถูกต้อง (ครั้ง) และระยะเวลาในการประเมิน (นาที)
5. สัปดาห์ต่อมาเก็บข้อมูลโดยให้แพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 10 คน (กลุ่มเดิม) สุ่ม
เลือกสถานการณ์สมมุติคนละ 5 รายจากการ์ด 10 ราย (รวม 50 ครั้ง) คำนวณ แปลผลและจัดกลุ่มโดยใช้
โปรแกรม SENA ADL& TAI บันทึกข้อมูลความถูกต้อง (ครั้ง) และระยะเวลาในการประเมิน (นาที)
6. เปรียบเทียบความถูกต้องและระยะเวลาในการคำนวณ แปลผลและจัดกลุ่ม ระหว่างการคำนวณ
ด้วยตนเอง กับการใช้นวัตกรรมโปรแกรม SENA ADL & TAI
ผลการศึกษา
จากการทดสอบในบุคลากรสาธารณสุขจำนวน 10 คน จากสถานการณ์สมมุติ คนละ 5 ครั้ง ผลพบว่า
1. ความถูกต้องในการประเมินคะแนน ADL & จัดกลุ่ม TAI ระหว่างแบบเดิมและหลังใช้นวัตกรรมโปรแกรม
SENA ADL & TAI ผลพบว่าการประเมินคะแนน ADL แบบเดิมถูกต้อง 38 ผิด 12 ครั้ง นวัตกรรม ถูก 48 ผิด 2 ครั้ง
และการจัดกลุ่ม TAI แบบเดิม ถูก 45 ผิด 5 ครั้ง ใช้นวัตกรรม ถูก 50 ผิด 0 ครั้ง
2. ระยะเวลาในการแปลผลและจัดกลุ่ม พบว่า การคำนวณ คะแนน ADL ด้วยตนเอง ใช้เวลา 8.54 – 20.28
นาที (เฉลี่ย 15.25) เมื่อใช้นวัตกรรม ใช้เวลา 5.10 – 6.22 นาที (เฉลี่ย 5.10) และการจัดกลุ่ม TAI ด้วยตนเอง
ใช้เวลา 5.15 – 7.38 นาที (เฉลี่ย 6.35) เมื่อใช้นวัตกรรม ใช้เวลา 2.33 – 3.16 นาที (เฉลี่ย 2.45)