Page 786 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 786
T12
การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง
การศึกษานี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลเชียงรายประชา
นุเคราะห์ ที่ชร 0033.102/วิจัย/EC.66-843 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566
4.ผลการศึกษา
การตัดสินใจเลือกปฏิเสธการรักษาเพื่อการยืด Mean SD p-value
การตายในระยะสุดท้ายของชีวิต
กลุ่มควบคุม 3.4 2.11 < 0.001
กลุ่มทดลอง 7.95 1.50
ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวรุนแรงที่ได้รับทางการดูแลประคับประคองและการวางแผนดูแลล่วงหน้ามี
คะแนนเฉลี่ยการตัดสินใจเลือกปฏิเสธการรักษาเพื่อการยืดการตายในระยะสุดท้ายของชีวิตสูงกว่าผู้ป่วย
โรคหัวใจล้มเหลวรุนแรงที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.001
การอภิปรายผล
จากผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า แนวทางการดูแลประคับประคองและการวางแผนดูแลล่วงหน้าทำ
ให้ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวรุนแรง สามารถเลือกวางแผนการดูแลในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตเพื่อไม่ยืดการตาย
ในระยะสุดท้ายอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์นำแนวทางการดูแล
ประคับประคองและการวางแผนดูแลล่วงหน้ามาใช้ในการดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวรุนแรง จะเป็นการ
ช่วยให้ผู้ป่วยได้กำหนดแผนการดูแลล่วงหน้าที่ตรงกับความต้องการและเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับบุคลากร
ทางการแพทย์เกิดประโยชน์กับผู้ป่วย ผู้ป่วยได้เลือกแผนการดูแลในวาระสุดท้ายด้วยตนเองตามความต้องการ
เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีในวาระสุดท้าย
ข้อจำกัด การศึกษานี้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกัน ยกเว้นเรื่อง ระดับสมรรถนะ
(Palliative Performance Scale) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Activity Daily Life) พบว่า
ข้อมูลระหว่างกลุ่มทดลองมีภาวะพึ่งพิงสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.005 ซึ่งอาจมีผล
ต่อการตัดสินใจส่งปรึกษาการดูแลประคับประคองโดยทีมประคับประคองและการตัดสินใจวางแผนการดูแล
ล่วงหน้าในวาระสุดท้าย
สรุปผลการศึกษา
ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวรุนแรงที่ได้รับทางการดูแลประคับประคองควรให้มีการวางแผนการดูแล
ล่วงหน้าร่วมกันระหว่างผู้ป่วยครอบครัวและบุคลากรทีมสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เลือกแผนการดูแลในวาระ
สุดท้ายด้วยตนเองตามความต้องการเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีในวาระสุดท้าย