Page 787 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 787
T13
“SENA ADL & TAI”
แพทย์หญิงพิชชาอร สุนทรสุข, นางสาวนงลักษณ์ มณีรอด และนายทรงพล ชมสกุล
โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขตสุขภาพที่ 4
ประเภท วัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2567 ยกระดับ 30 บาทพลัส Quick win 100
วัน ประเด็นนโยบายสถานชีวาภิบาล กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาลทุกแห่ง และให้จัดตั้ง
สถานชีวาภิบาลในชุมชน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องการดูแลแบบพึ่งพิง ซึ่งประกอบด้วย ผู้สูงอายุ
ระยะพึ่งพิงทุกกลุ่มวัย ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผู้ป่วยระยะท้าย ให้ได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมทั้ง
4 มิติ บูรณาการระบบการดูแลแบบประคับประคอง/ระยะท้าย (Palliative Care) ระบบการดูแลผู้สูงอายุ
(Elderly Care) ระบบการดูแลระยะยาว (Long-Term Care) รวมทั้งจัดระบบบริการดูแลที่บ้าน (Home care
และ Home ward) และชุมชน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ระบบงานมีประสิทธิภาพ ไร้รอยต่อ
ได้มาตรฐาน เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาระค่าเดินทาง ลดระยะเวลารอคอย เป็นการสร้างเสริมสุขภาวะระยะ
สุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน (กระทรวงสาธารณสุข, 2567)
โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีการจัดตั้งและเปิด “ศูนย์ชีวาภิบาล” เพื่อให้การดูแล
รักษาและให้บริการประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยมีบทบาทหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน หน่วยงานภายใน ภาคี
เครือข่าย และหน่วยงานภายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดความร่วมมือ เชื่อมโยงระบบบริการ
ปฐมภูมิ (Primary Health Care) ตั้งแต่การดูแลในโรงพยาบาลจนถึงบ้าน/ชุมชน ปีงบประมาณ 2567 มีผู้ป่วย
ประคับประคอง ได้รับการดูแลรักษาจำนวน 42 ราย เสียชีวิต 27 ราย ยังคงได้รับการดูแลในระบบ อีก 15 ราย
ผู้ป่วยที่ต้องการดูแลระยะยาว จำนวน 400 ราย ในระยะแรกของการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนการรวบรวม
ข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งผู้ป่วยทุกรายจะต้องได้รับการประเมินความสามารถในการ
ดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เทลเอดีแอล (Barthel ADL index) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและ
บุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง จะมีคะแนน Barthel ADL index น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11 คะแนน (ประกาศ
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2562) และถ้าผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ จะต้องได้รับการประเมิน
Typology of The Aged with Illustration (TAI) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวัดความสามารถในการทำกิจกรรม
(Function) ของผู้สูงอายุ โดยวัดใน 4 Functions ประกอบด้วย 1.ด้านการเคลื่อนที่ (Motility) 2. ด้านจิตใจ
และสติปัญญา (Mental) 3. ด้านการกินอาหาร (Eating) และ 4. ด้านการขับถ่าย (Toilet) ซึ่งหลังประเมิน
เสร็จ จะต้องแบ่งผู้สูงอายุที่สูญเสีย Function เป็น 3 กลุ่มใหญ่ 9 กลุ่มย่อย เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการ
รักษาที่แตกต่างกัน และใช้ในการคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินงานรวบรวมข้อมูล Barthel ADL index และการประเมิน TAI 4
Functions พบปัญหา การประเมินมีหลายขั้นตอน มีรายละเอียดปลีกย่อย และแต่ละหัวข้อให้คะแนนไม่
เท่ากัน การประเมินผ่านเอกสารแบบกระดาษบันทึก ทำให้ไม่สะดวกมีการคำนวณผิด นอกจากนี้ผลจากการ
ประเมินเบื้องต้น จะต้องนำไปจัดกลุ่มตามสภาพปัญหารายบุคคล จึงเป็นภาระงานของผู้ประเมิน เนื่องจากใช้
เวลาค่อนข้างนาน และต้องประเมินจากผู้มีความรู้ ความชำนาญ พบการแปลผลผิดพลาด และจัดกลุ่มผิดพลาด
ซึ่งส่งผลกระทบต่อการวางแผนการรักษา จึงสนใจพัฒนานวัตกรรม “SENA ADL & TAI” เพื่อลดระยะเวลาใน
การประเมินและแปลผล และเพิ่มความถูกต้องในการประเมินและการจัดกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง