Page 785 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 785
T11
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางการดูแลประคับประคองและการวางแผนดูแลล่วงหน้าต่อการตัดสินใจ
เลือกปฏิเสธหรือได้รับการรักษาเพื่อการยืดการตายในระยะสุดท้ายของชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวรุนแรง
วิธีการดำเนินการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ศึกษาแบบสองกลุ่มแบ่งเป็น
กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง (Two Groups Only Post-test Design) เกณฑ์การคัดเลือกอาสาสมัคร
(Inclusion Criteria/Exclusion Criteria) เกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion Criteria) คือ 1) ผู้ป่วยโรคหัวใจ
ล้มเหลวรุนแรงที่อายุรแพทย์โรคหัวใจวินิจฉัยได้รับการรักษาแบบประคับประคอง อายุ 18 ปีขึ้นไป 2) เป็น
ผู้ป่วยที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาล 3) ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวรุนแรงรับทราบว่าได้รับการรักษาแบบ
ประคับประคอง 4) ผู้ป่วยสามารถสื่อสาร ภาษาไทยได้เกณฑ์การคัดออก (Exclusion Criteria) 1) ผู้ป่วยขอ
ปฏิเสธการเข้าร่วมวิจัย
จำนวนประชากรที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวรุนแรงที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาล
เชียงรายประชานุเคราะห์ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2566 – มีนาคม 2567 มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40
ราย กำหนดเป็นกลุ่มควบคุม 20 ราย กลุ่มทดลอง 20 ราย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive) ตาม
คุณสมบัติที่กำหนด และการสุ่มอย่างง่ายเพื่อกำหนดเข้ากลุ่มควบคุมและเข้ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มควบคุมได้รับ
ดูแลได้รับการดูแลแบบประคับประคองตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการดูแลแบบประคับประคองและการ
วางแผนดูแลล่วงหน้า ตามกรอบแนวคิด Serious illness conversation guide for advance care
planning
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปดังนี้
1.ข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์โดยวิธีการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูล
พื้นฐานทั่วไปที่เป็นตัวแปรต่อเนื่อง และมีการกระจายปกตินำเสนอโดยใช้ค่าเฉลี่ย (means) +/-ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (standard deviation) และค่าพิสัย (range) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้ t-test
และตัวแปรเชิงคุณลักษณะ จะถูกบันทึกเป็นจำนวนครั้ง (count) และร้อยละ (percentage) เปรียบเทียบ
ความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้ Exact probability test , Chi-square test การวิเคราะห์ทางสถิติทั้งหมด
จะวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์แบบสองหาง กำหนดระดับนัยสำคัญที่ P-value < 0.05
2.ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการตัดสินใจเลือกปฏิเสธเลือกปฏิเสธหรือได้รับการรักษาเพื่อการยืดการ
ตายในระยะสุดท้ายของชีวิตระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ โดยใช้ Exact probability test ,
Chi-square test การวิเคราะห์ทางสถิติทั้งหมดจะวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์แบบสองหาง กำหนดระดับ
นัยสำคัญที่ P-value < 0.0