Page 87 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 87

B15


                  ตารางแสดง ค่าเฉลี่ย วันที่เริ่มเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ
                                                                   วันที่เริ่มเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ
                                                            ก่อนการใช้แนวปฏิบัติ      ผลลัพธ์หลังการใช้แนวปฏิบัติ

                             Oral mucositis                       (n = 5)                      (n= 18)

                                                          ค่าเฉลี่ย    ส่วนเบี่ยงเบน   ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบน
                                                          (Mean)      มาตรฐาน (SD)               มาตรฐาน (SD)
                   วันที่เริ่มเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ   5.2           1.78         7.62          0.91


                         - ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยตอบแบบสอบถามก่อนผู้ป่วย
                  จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.2/10  โดยมีคะแนนอยู่ในช่วง 8–10 คะแนน

                         - ประเมินผลลัพธ์เชิงกระบวนการ เป็นการประเมินประสิทธิภาพของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาล
                  ไปสู่การดำเนินการโดยทีมพยาบาล ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติพบว่ามีคะแนนเฉลี่ย
                  เท่ากับ 8.33/10 โดยมีคะแนนอยู่ในช่วงระหว่าง 7–9คะแนน

                  อภิปรายผล

                         จากการประเมินผลลัพธ์ผู้ป่วยพบว่าจากการเปรียบเทียบการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบก่อนการ
                  ใช้แนวปฏิบัติพบอัตราการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ 100% กับ หลังการใช้แนวปฏิบัติพบว่าอัตราการเกิด
                  ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ 44.44% การเกิดเยื่อบุช่องปากลดลง 55.55% จากค่าเฉลี่ยวันที่เริ่มเกิดจากวันที่
                  5.2 เป็นวันที่7.62แสดงให้เห็นถึงonsetที่ช้าลง  จึงสามารถยืนยันถึงประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อ
                  ป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบมีประสิทธิภาพสามารถป้องกันการเกิดและลดความรุนแรงภาวะเยื่อบุช่อง

                  ปากได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและยังเป็นการยืนยันคุณภาพของการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาสู่การ
                  ปฏิบัติทางคลินิกและให้ผลลัพธ์ที่ดีในด้านการให้การบริการผู้ป่วยจากผลลัพธ์ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย
                  ต่อการได้รับการดูแลโดยการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.2คะแนนเฉลี่ยมีระดับความ

                  พึงพอใจอยู่ที่ ดีมาก จากผลลัพธ์เชิงกระบวนการที่พบว่า ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ต่อการใช้แนวปฏิบัติมี
                  คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ8.33 โดยมีคะแนนอยู่ในช่วงระหว่าง 7–9 คะแนนมีระดับความพึงพอใจ  ดีมาก และ ผู้ป่วย
                  ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิกร้อยละ 100 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและร่วมมือของเจ้าหน้าที่ใน
                  หน่วยงานต่อการใช้แนวปฏิบัติ

                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         - ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบมี
                  ประสิทธิภาพสามารถป้องกันการเกิดและลดความรุนแรงภาวะเยื่อบุช่องปากได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย
                  และยังเป็นการยืนยันคุณภาพของการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาสู่การปฏิบัติทางคลินิก
                         - ด้านความเป็นไปได้ (feasibility) มีความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้เนื่องจากมีขั้นตอนและ

                  วิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนเห็นได้จากผลลัพธ์เชิงกระบวนการ
                         - ด้านความเหมาะสม (Appropriate) การนำแนวปฏิบัติ มาใช้ในการพยาบาลเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน
                  ของผู้ป่วย ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยของหน่วยงาน

                         - ด้านความมีคุณค่า(Meaningfulness) ป้องกันการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบที่ส่งผลกระทบต่อ
                  ทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบาย รับประทานอาหารได้ ทำให้ไม่ต้องต้องเลื่อนให้ยา
                  เคมีบำบัด ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาดีขึ้น และ เกิดประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานในด้านการปฏิบัติการ
                  พยาบาลที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92