Page 88 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 88

B16


                       การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV Self

                       Sampling ของสตรีอายุ 30-60 ปี ด้วยกลไกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน


                                                                                          นางธันย์สิตา ยอดอ่อน

                                                                           โรงพยาบาลหนองมะโมง เขตสุขภาพที่  3
                                                                                         ประเภทผลงาน วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         การติดเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 สามารถก่อให้
                  เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ถึงร้อยละ 70 โรงพยาบาลหนองมะโมงมีผลการดำเนินงานการคัดกรองโรคมะเร็ง

                  ปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test ปี2564-2566 มีดังนี้ ร้อยละ 146.67 ,117.65และ 31.11 จะเห็นได้ว่า
                  มีผลการดำเนินงานลดลงอย่างต่อเนื่อง และในช่วงปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-ก.พ.66) มีผลการดำเนินงาน
                  ไม่ผ่านเกณฑ์เป้าหมาย ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุ ยังไม่มีการให้บริการแบบเชิงรุก  ดังนั้น ศูนย์วิทยาศาสตร์
                  การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ ได้สนับสนุนชุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบตรวจด้วยตนเอง หรือเรียกว่า

                  HPV Self Sampling  มาใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ในการคัดกรองมะเร็ง
                  ปากมดลูก ลดกลัว ลดอาย ทำได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการ
                  เข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV Self Sampling ของสตรีอายุ 30-60 ปี ด้วยกลไก

                  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจเพิ่มมากขึ้น

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1) ศึกษาสภาพปัญหาและการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของอำเภอหนองมะโมง
                         2) พัฒนารูปแบบการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV Self Sampling
                  ของสตรีอายุ 30-60 ปี ด้วยกลไกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

                         3) ประเมินผลรูปแบบที่รูปแบบการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV Self
                  Sampling ของสตรีอายุ 30-60 ปี ด้วยกลไกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

                  วิธีการศึกษา
                               การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research)การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน
                  ขั้นวางแผน-ปรับปรุงแผน  ขั้นปฏิบัติการ  ขั้นสังเกตการณ์  ขั้นสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้

                  สถิติเชิงพรรณนา สถิติการทดสอบ Wilcoxon Signed Ranks Test
                             ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                             ประชากร คือ สตรีอายุ 30-60 ปี อำเภอหนองมะโมง จำนวน 2,828 คน 2. ผู้รับผิดชอบงานคัดกรอง
                  มะเร็งปากมดลูก อำเภอหนองมะโมง จำนวน 8 คน

                         กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 72 คน  (ร้อยละ20ของจำนวนสตรีอายุ30-60 ปี)

                  ผลการศึกษา
                               ผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV Self Sampling ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ

                  30-60 ปี มีจำนวนเป้าหมาย 72 คน ผลการคัดกรองฯคิดเป็นร้อยละ 100 หลังการพัฒนารูปแบบฯ มีคะแนน
                  เฉลี่ยความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV Self Sampling อยู่
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93