Page 375 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 375

K8

                  สอดคล้องบทความวิชาการของ สมศักดิ์ เทียมเก่า เรื่องการพัฒนาเครือข่าย Stroke fast track

                  ที่พบว่าการพัฒนาการให้บริการช่องทางด่วนจะเน้นหนักที่การพัฒนาโรงพยาบาลที่มีศักยภาพให้สามารถ
                  ให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงและต้องดำเนินการไปพร้อมกันทุกระดับ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
                                5
                  ในการดูแลผู้ป่วย จากการศึกษาของ รัตนาภรณ์ ยนต์ตระกูล และคณะ กล่าวถึงวงจรการปฏิบัติการที่ใช้ในการ
                  พัฒนาระบบการบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันคือการวางแผนP:Plan)
                  ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาต่างๆนำสู่การวางแผนแก้ปัญหา การลงมือปฏิบัติ (A : Acting) ร่วมมือกัน
                  ปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ การสังเกต (O : Observe) สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม นำสู่ขั้นตอน
                                                                                               6,7
                  สะท้อนความคิด (R : Reflecting) ในการประชุมปรึกษาทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง  เป็นอีกวงจร
                  ที่ต้องคำนึงถึงและร่วมกันปฏิบัติเพื่อพัฒนาการบริการผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การรักษาด้วยระบบบริการ Stroke Fast Track จะต้องเข้าถึงระบบบริการอย่างรวดเร็วที่สุด ดังนั้น
                  ทุกทีม ทุกระบบ ต้องมีความพร้อมในการให้บริการเป็นอย่างดี การสร้าง Stroke awareness, Alert และ
                  การ Activate stroke fast track เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการพัฒนาระบบบริการโรคหลอดเลือด

                  สมอง การเข้าถึงระบบบริการได้รวดเร็ว การจัดการระบบในโรงพยาบาลเพื่อให้ระยะเวลา Door to needle
                  time สั้นลง ส่งผลเพิ่มโอกาสผู้ป่วยหายเป็นปกติ ลดความพิการและลดอัตราการเสียชีวิตได้และต้องมีการ
                  เตรียมแผนสำรอง เมื่อเครื่อง CT Scan เสียต้องมีการวางแผนการส่งต่อไปโรงพยาบาลที่มีเครื่อง CT Scan ใกล้
                  ที่สุดให้รวดเร็วที่สุด
   370   371   372   373   374   375   376   377   378   379   380