Page 376 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 376

K9


                     ผลการใช้ Application Coins  score ในการจัดการตนเองเพื่อลดการกำเริบ การนอน

                          โรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คลินิกพิเศษโรงพยาบาลพะเยา


                                                                              นางชนกชนม์ สาคะศุภฤกษ์ และคณะ
                                                                                 โรงพยาบาลพะเยา เขตสุขภาพที่1

                                                                                               ประเภทวิชาการ
                  ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
                         โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคเรื้อรังที่ปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก  และ ประเทศไทยคาดว่า ปี 2575
                  โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะเป็นโรคเรื้อรังที่มีอัตราการตายเป็นอันดับที่ 5 ของโรคเรื้อรังที่สำคัญของประเทศไทย

                  พบอัตราตาย 22.9 คนต่อแสนประชากร และพบจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็น area base
                  ที่สำคัญของเขตสุขภาพที่1และจังหวัดพะเยา ผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อย  ไอ ปริมาณเสมหะ มากขึ้น
                  เสมหะเปลี่ยนสี ใน 3วัน จะเรียกว่า เกิดการกำเริบเฉียบพลัน (การดูแลผู้ป่วยโรคปอดดุดกั้นเรื้อรัง, 2560)

                  พบ 1ใน5 ราย เสียชีวิตในระยะเวลา 1 ปี  ร้อยละ 55 เสียชีวิตในระยะเวลา 5 ปี (Jones PW, et al.2009)
                  รักษาซ้ำในรอบปีประมาณ 2-3 ครั้ง  (Scichilone N, et al.2010) การกำเริบเฉียบพลัน ส่งผลกระทบต่อ
                  คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว เกิดค่าใช้จ่ายของการรักษาเพิ่มขึ้นร้อยละ 9  ปัจจัยการเกิดการกำเริบ
                  เฉียบพลันและการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มี3 ด้าน คือด้านลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่
                  อายุ เพศ การสูบบุหรี่ ด้านลักษณะความเจ็บป่วย ได้แก่ ระดับความรุนแรงของโรค ระดับความรุนแรงของ

                  อาการ ปอดอักเสบติดเชื้อ มีการกำเริบเฉียบพลันในระยะเวลา 1 ปี การรักษาไม่เหมาะสมในระยะสงบ
                  ดัชนีมวลกายต่ำ และด้านสุขภาวะ ได้แก่คุณภาพชีวิตต่ำ จากการประเมิน COPD Assessment Test
                            TM
                  (CAT score )  ภาวะซึมเศร้า
                         COPD Assessment Test  (CAT score )  เป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งของคุณภาพการดูแลผู้ป่วย
                                                           TM
                                                                                                  TM
                  โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ( KPI  of Service Plan) ซึ่ง CAT score   เป็นแบบ
                  ประเมินมาตรฐานของต่างประเทศ  มีจำนวนทั้งหมด 8 ข้อ  มีค่าคะแนน 0-5คะแนน  รวม 40 คะแนน แบ่ง
                  ออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านความผาสุก และด้านความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน อย่างละ 4 ข้อ คำตอบ

                  ที่ได้ ช่วยทำให้เกิดการรักษาที่เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย  และ สะท้อนผลกระทบและข้อจำกัดของโรค
                                                    TM
                  ตาม GOLD  Guideline ค่าคะแนน CAT score แบ่งออกเป็น อาการน้อย ค่าคะแนน
                       TM
                                                                       TM
                  CAT  score  น้อยกว่า 10  อาการมาก ค่าคะแนน CAT score มากกว่าและเท่ากับ 10 คะแนน
                                                             TM
                         ปัญหาที่พบในการประเมิน CAT score   เนื่องจากแบบประเมินดังกล่าวดัดแปลงมาจาก
                  ของต่างประเทศ การนำมาใช้ประเมินจึงมีความยาก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ามารับบริการในคลินิกส่วนใหญ่
                  อายุมากกว่า60ปี ไม่ได้รับการศึกษา  อ่านหนังสือไม่ออก สายตาพร่ามัว  การประเมินแต่ละครั้งต้องอาศัย
                  พยาบาลและผู้ดูแลช่วยในการประเมิน  ทำให้ค่าคะแนนที่ได้ไม่ตรงกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจริง
                  เกิดความลำเอียงจากการใช้ความรู้สึกของผู้ประเมินเข้าไปด้วย  ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่มี

                  ความเข้าใจง่าย ครอบคลุม และจำเพาะต่อผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เรียกว่า Coins  score และมีการ
                  ศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ วิจัยการเปรียบเทียบการประเมิน CAT  scoreต่อการเกิดความรุนแรงของโรค
                                                                           TM
                  ปอดอุดกั้นเรื้อรัง  ระหว่างการใช้สัญลักษณ์รูปหน้ากับมูลค่าเหรียญต่างๆ เทียบกับมาตรฐานต่างประเทศ

                  คลินิกพิเศษอายุรกรรม  โรงพยาบาลพะเยา ผลการวิจัยพบว่ามีความแตกต่างทางสถิติรายข้อคือ อาการเหนื่อย
                  เวลาเดินทางชัน/ขึ้นบันไดหนึ่งขั้น (p=0.044 )ความมั่นใจที่จะออกไปนอกบ้านทั้งที่ปอดยังมีปัญหา(p=0.023 )
                  และ การนอนหลับสนิท (p=0.012 ) ส่วน การกำเริบของโรค (p=0.301) และการนอนโรงพยาบาล
   371   372   373   374   375   376   377   378   379   380   381