Page 377 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 377
K10
จากการกำเริบของโรค (p=0.615)ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ(ภาพที่1) และ วิจัยความแม่นยำ
ของการใช้ Coins scores ในการประเมินความรุนแรงของโรคต่อการเกิดการกำเริบเฉียบพลันและนอน
โรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลพะเยา ผลการวิจัยพบว่า เมื่อใช้แบบประเมิน Coins
scores ประเมินกลุ่มที่อาการกำเริบและนอนโรงพยาบาลจะมีระดับคะแนนที่มากว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการหอบ
(เฉลี่ย 9.95 ± 7.7VS 16.5± 10.2) P-value 0.004 จุดตัดของคะแนนแบบประเมิน >12
มี sensitivity = 73.7 specificity = 63.3% Likelihood ratio of positive= 2.01 Likelihood ratio of
negative=0.42 มี AuROC= 0.69 (0.57 -0.80) PPV=38.9% NPV=88.4% (ภาพที่2) ทำให้เกิดหลักฐาน
เชิงประจักษ์ และได้พัฒนามาเป็น Application Coins score เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ในการจัดการตนเอง
เพื่อลดการกำเริบ และการนอนโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อศึกษาผลการใช้ Application Coins score ในการจัดการตนเองเพื่อลด
การกำเริบ การนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาชนิด efficacy research รูปแบบ non-randomized control trial ศึกษาใน
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ใช้การประเมิน Coins scores แบบเดิม ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึง
มีนาคม 2566 จำนวน 79 ราย และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ใช้ Application Coins scores เดือน
เมษายน ถึง พฤษภาคม 2566 จำนวน 65 ราย ศึกษาเปรียบเทียบทั้งสองกลุ่ม คำนวณขนาดตัวอย่าง
จากอัตราการกำเริบและนอนโรงพยาบาลของกลุ่มที่ประเมินแบบเดิมร้อยละ 10 คาดว่าเมื่อใช้ application
อัตราการกำเริบและนอนโรงพยาบาลจะลดลงเหลือ ร้อยละ 25 power 80 one side alpha error 0.05
significant ratio 1:1 ได้ขนาดตัวอย่าง กลุ่มละ 79 ราย วิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะทั่วไป โดยใช้ exact
probability test และ t-test และหาประสิทธิภาพของการใช้ Application Coins score ในการจัดการ
ตนเองด้วย Multilevel risk regression
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 144 ราย แบ่งเป็น กลุ่มที่ใช้แบบประเมิน Coins scores เดิม 79 รายและ
กลุ่มที่ใช้ Application Coins score 65 ราย หลังจากวิเคราะห์ด้วยสมการหลายตัวแปร โดยปรับอิทธิผลของ
การสูบบุหรี่ ระดับความรุนแรงของการตรวจสมรรถภาพปอด ตามGold stage การจัดการตนเองร่วม
กับทีมสุขภาพ การได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และ การได้รับยาสเตียรอยด์ พบว่าผลการใช้ Application Coins
score ในการจัดการตนเองมีแนวโน้มช่วยลดการเกิดการกำเริบเฉียบพลันและการนอนโรงพยาบาลได้ 96%
(RR 0.04 95% CI 0.00,3.36 (p-value 0.154) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ภาพที่3)
อภิปรายผลการศึกษา:การใช้ Application Coins score ในการจัดการตนเองมีแนวโน้มช่วยลดการเกิดการ
กำเริบเฉียบพลันและการนอนโรงพยาบาล ได้ 96% เพราะผู้ป่วยมีความมั่นใจในการจัดการตนเอง
เนื่องจากใช้ Applicationมีคำแนะนำในการจัดการตนเองตามค่าคะแนนที่ได้จากการประเมินและ
มีสีบอกความรุนแรงของอาการที่ประเมินได้(ภาพที่4) การมีเครื่องมือที่ช่วยทำให้สามารถวางแผนจัดการตนเอง
ของผู้ป่วยได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรใช้ Application Coins score เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินอาการ และ
วางแผนการจัดการตนเองของผู้ป่วย ซึ่งมีแนวโน้มในการลดการกำเริบของโรค และลดการนอนโรงพยาบาล
ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ ทีมสุขภาพสามารถพัฒนาเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอุดกั้น
เรื้อรังได้ถูกต้องเหมาะสม ได้มาตรฐาน เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์มีความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย เพื่อยืนยัน
ผลการศึกษาควรมีการรวบรวมข้อมูลวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมากขึ้น ก่อนนำไปปฏิบัติ