Page 379 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 379

K12


                          การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลสุโขทัย


                                                                         แพทย์หญิงกัญญกมล  กุลกิติเกษ และคณะ
                                                                               โรงพยาบาลสุโขทัย  เขตสุขภาพที่ 2

                                                                                     ประเภท ผลงานทางวิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายรุกรรมที่พบได้บ่อย และมีแนวโน้มของ
                  การเกิดโรคเพิ่มขึ้น สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ประมาณการว่าหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 16.7 หรือ 21.1 ล้านคน

                  ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร้อยละ 85.1 จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และในหญิงที่เป็น
                  เบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้น ภายใน 5 - 10 ปี หลังคลอด
                  รวมทั้งทารกที่เกิดมาก็มีแนวโน้มที่จะน้ำหนักตัวเกิน และมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
                  (International Diabetes Federation,2021) ภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes
                  mellitus, GDM) เป็นความผิดปกติของการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต เนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างความ

                  ต้องการและการใช้อินซูลินของร่างกาย หรือจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้มารดามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
                  ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกได้ ทารกตัวโตซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลอดยาก
                  และเกิดการบาดเจ็บในการคลอดได้

                         จากสถิติผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ของโรงพยาบาลสุโขทัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 - 2564 มีจำนวน
                  ดังนี้ 7 4 , 88 และ 79 ราย ตามลำดับ เทียบกับหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด  709, 726 และ 685 ราย
                  คิดเป็นร้อยละ 10.4,12.1,11.5ตามลำดับ และเด็กทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม จำนวน 5,5,3
                  รายต่อปี คิดเป็นร้อยละ 6.8,5.7,3.8ตามลำดับ ซึ่งพบว่า แนวทางการปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะ

                  ตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลสุโขทัย ระบบปรึกษาระหว่างหน่วยงานไม่ชัดเจน ไม่มีผู้รับผิดชอบงานโดยตรง ซึ่งเป็น
                  ปัญหาการจัดการระบบและความเชื่อมโยงในทีมสหวิชาชีพ ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย
                  เบาหวานขณะตั้งครรภ์ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมโดยทีมสหวิชาชีพ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2หลังคลอด ก่อนและหลังการพัฒนาแนวทางการ

                  ดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์
                         2. เพื่อเปรียบเทียบจำนวนเด็กทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000กรัมก่อนและหลังการพัฒนา
                  แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์

                  วิธีการศึกษา
                   การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ทุกรายที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลสุโขทัย

                  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้: วิเคราะห์โดยใช้สถิติเป็นพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และ ร้อยละ
                  เครื่องมือที่ใช้:   1. แนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline : CPG)
                                2. แผนการรักษาขณะนอนโรงพยาบาลเพื่อรอคลอด และหลังคลอด Standing order Gestational

                  Diabetes
                                3. แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์
                                4. แบบประเมินการใช้ยาฉีดและขั้นตอนการปฏิบัติงานของเภสัชกร
   374   375   376   377   378   379   380   381   382   383   384