Page 380 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 380

K13


                                5.ขั้นตอนการปฏิบัติงานของนักโภชนากรและแบบแผนการสอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
                  การศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาล
                  สุโขทัย ช่วงปีงบประมาณ 2565 – 2566

                  ผลการศึกษา

                                  ก่อนดำเนินงาน                                   หลังดำเนินงาน

                           ผู้ป่วยเบาหวาน   เบาหวาน                        ผู้ป่วยเบาหวาน   เบาหวาน
                     ปี     ขณะตั้งครรภ์    หลังคลอด  ร้อยละ         ปี     ขณะตั้งครรภ์    หลังคลอด  ร้อยละ
                               (ราย)          (ราย)                            (ราย)          (ราย)
                   2562         74             15        20.27     2565         133            22       16.54

                   2563         88             17        19.31     2566         163            19       11.65
                   2564         79             15        18.98


                                  ก่อนดำเนินงาน                                   หลังดำเนินงาน


                           ทารกที่เกิดจาก                                  ทารกที่เกิดจาก
                           ผู้ป่วยเบาหวาน   เด็กน้ำหนัก                    ผู้ป่วยเบาหวาน  เด็กน้ำหนัก
                     ปี                    > 4,000 กรัม  ร้อยละ      ปี                    > 4,000 กรัม  ร้อยละ
                            ขณะตั้งครรภ์      (ราย)                         ขณะตั้งครรภ์      (ราย)

                               (ราย)                                           (ราย)
                   2562         74              5        6.75      2565         133             7        5.26
                   2563         88              5        5.68      2566         163             6        3.68

                   2564         79              3        3.79

                  อภิปรายผล
                              ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่าภายหลังการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์
                  จำนวนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังคลอดในปี 2565 และ 2566 ลดลง โดยคิดเป็นร้อยละ 16.54 และ 11.65
                  ตามลำดับ ส่วนจำนวนเด็กทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000กรัมหลังการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย

                  เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในปี 2565 และ 2566 คิดเป็น ร้อยละ 5.26 และ 3.68 ตามลำดับซึ่งผลงานปี 2565
                  มีแนวโน้มสูงขึ้น จาการทบทวนพบว่า จำนวน 2 ราย ตั้งครรภ์ใน ปี 2564 แต่คลอดในปี 2565 แสดงถึง
                  แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลสุโขทัย ที่พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของทีมสห
                  สาขาวิชาชีพและ PCT (Patient Care Team)สาขาต่างๆที่ดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ร่วมกัน

                  ประกอบด้วย CPG Standing order Gestational Diabetesแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลแบบประเมิน
                  การใช้ยาฉีดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเภสัชกรและแบบแผนการสอนของนักโภชนากร สามารถลดจำนวน
                  ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังคลอดและจำนวนเด็กทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000กรัม ได้
   375   376   377   378   379   380   381   382   383   384   385