Page 382 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 382

K15


                            การพัฒนารูปแบบคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine Clinic)

                                                  ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

                         Development of the Lifestyle Medicine Clinic Model Health Promotion

                                                  Center 3 Nakhon Sawan.
                                                                             แพทย์หญิงศรินนา แสงอรุณ และคณะ
                                                                        ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ เขตสุขภาพที่ 3

                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         ตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของ
                  คนไทย จากรายงานสถานการณ์โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรค
                  NCDs ราวปีละ 4 แสนราย หรือวันละไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย คิดเป็น 3 ใน 4 ของการเสียชีวิตทั้งหมดของ
                  ประเทศ และครึ่งหนึ่งเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

                         กรมอนามัย ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพบุคคลตามวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดการมี
                  ภาวะสุขภาพที่ดีและเกิดความยั่งยืน สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้รับบริการคือ “เวชศาสตร์วิถีชีวิต”
                  หรือ Lifestyle Medicine เน้นการปรับเปลี่ยนปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม 6 เสาหลัก คือ 1) การบริโภคอาหาร
                  ที่เป็นประโยชน์ ต่อสุขภาพ 2) การนอนหลับเพียงพอ 3) การจัดการความเครียดและอารมณ์ 4) การจัดการ

                  ด้านความสัมพันธ์ 5) การจัดการบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสิ่งเสพติด และ6) การมีกิจกรรมทางกาย โดย
                  การผสมผสานและบูรณาการศาสตร์การรักษาต่าง ๆ มาวางแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวัน
                  ลดปริมาณการใช้ยาที่ไม่จำเป็นลง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาสุขภาพอย่างค่อยเป็น
                  ค่อยไป ให้ผู้ป่วยเกิดแรงจูงใจและมีความสุขในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ด้วยการวางแผนร่วมกัน

                  ระหว่างแพทย์  ผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต Lifestyle Medicine Clinic

                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยประยุกต์แนวคิด

                  ทฤษฎี SEARN MODEL ทฤษฎีสร้างความรอบรู้ V Shape ของกรมอนามัย ทฤษฎีสร้างแรงจูงใจ Motivation
                  Interview, ศาสตร์เวชศาสตร์วิถีชีวิต Lifestyle Medicine  ด้วยกระบวนการ วางแผน (Plan) ปฏิบัติ (Act)
                  สังเกต (Observe) และ การสะท้อน (Reflection) (Kemmis & McTaggart, 1988) รวมเป็น ระหว่างวันที่ 1
                  ตุลาคม 2566 – 30 เมษายน 2567 สถานที่ คลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต ศูนย์อนามัยที่ 3นครสวรรค์ ซึ่งแบ่ง
                  ออกเป็น 3 ระยะตามกรอบแนวคิด ดังนี้
   377   378   379   380   381   382   383   384   385   386   387