Page 628 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 628

Q14

                         2.2 เพื่อพัฒนาระบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผู้ป่วยในที่ติดเชื้อดื้อยาโรงพยาบาลวังเจ้า

                  จังหวัดตาก
                         2.3 เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนาการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผู้ป่วยในที่ติดเชื้อ

                  ดื้อยาโรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก ได้แก่ สมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยในที่ติดเชื้อดื้อยา ความพึงพอใจ

                  ต่อระบบการพยาบาลผู้ป่วยในที่ติดเชื้อดื้อยาของพยาบาลวิชาชีพ

                  วิธีการศึกษา

                         ศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อดื้อยาของผู้ป่วยในจากรายงานผลทางห้องปฏิบัติการปีงบประมาณ
                  พ.ศ. 2564 - 2566 และใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ปัญหาอุปสรรค (IOC = 0.95) เป็นคำถามปลายเปิด

                  กับบุคลากรทางการพยาบาล จำนวน 18 คน ( Purposive sampling ) ออกแบบและพัฒนาแนวทางโดยใช้แนวคิด

                  ทฤษฎีระบบ ปรับปรุงตามผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปใช้และประเมินผลโดยแบบสังเกตการณ์การปฏิบัติ
                  ของบุคลากรพยาบาล (IOC= 0.93) นำมาหาค่า Inter rater reliability กับผู้ช่วยวิจัย เท่ากับ 1 และ

                  แบบประเมินความพึงพอใจของการพัฒนาแนวทาง ( IOC= 0.79) ในเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2566

                  ผลการศึกษา

                         ระยะที่ 1 พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีผลติดเชื้อดื้อยา ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวังเจ้า ปีพ.ศ. 2564 - 2566
                  เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาจากชุมชนทั้งหมด ผู้ป่วยหญิง 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 55.60  ผู้ป่วยชาย 16 รายคิดเป็น

                  ร้อยละ 44.48 กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี ติดเชื้อดื้อยา ร้อยละ 2.78, 5.56 และ 52.82 ตามลำดับ พบเชื้อก่อโรคดื้อยา
                  ในปัสสาวะมากที่สุด 12.80, 12.80  และ 40.96 ตามลำดับ เชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อดื้อยาสูงสุด

                  3 อันดับ คือ Escherichia coli (MDR), Acinetobacter baumannii (CRAB_MDR) และ Klebsiella pneumoniae

                  (CRE_MDR)  คิดเป็นร้อยละ 28.16 , 20.48 และ 10.24 ตามลำดับ
                         ปัญหาและอุปสรรคในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลวังเจ้า (Focus Group Discussion)

                  เจ้าหน้าที่ยังรับทราบนโยบายไม่ทั่วถึง ควรสนับสนุนให้ได้อบรมวิชาการด้านการติดเชื้อหลักสูตรระยะสั้น 2-5 วัน

                  ต่อคน สนับสนุนงบประมาณในการจำทำสื่อ ให้ความรู้ในพื้นที่โรงพยาบาล อุปกรณ์เครื่องมือที่ต้องแยกใช้
                  ให้เพียงพอ มีการเฝ้าระวังด้วยการสื่อสารในองค์กรเพิ่มขึ้นตั้งแต่จุดคัดกรองในกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยา

                  เพื่อจัดเตรียมบริหารจัดการภายในหอผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาล ส่งเสริมมาตรการ 5 moment

                  ด้วยการติดตามเป็นระยะ อาคารสถานสถานที่ไม่เพียงพอใจการบริหารจัดการแยกผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง หรือ
                  กลุ่มติดเชื้อดื้อยาด้านการรักษาควรมีมีการสื่อสารในทีมให้ทราบของการเปลี่ยนยาหรือใช้ยาฆ่าเชื้อให้เข้าใจ

                  ตรงกัน ข้อเสนอแนะอื่นๆ ในเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ต้องอาศัยทีมสหวิชาชีพอื่นด้วยในการให้
                  ความร่วมมือ โดยเฉพาะองค์กรแพทย์

                         ระยะที่ 2

                         1. มาตรการการประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา ข้อพิจารณาในการแยกผู้ป่วยไว้ก่อน
                         - ผู้ป่วยที่เข้าออกโรงพยาบาลบ่อยๆ และมาด้วยการติดเชื้อ

                         - ผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลตติยภูมิ
                         - ผู้ป่วยที่มีการสอดใส่อุปกรณ์เข้าสู่ร่างกาย
   623   624   625   626   627   628   629   630   631   632   633