Page 627 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 627

Q13

                        การพัฒนาการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผู้ป่วยในที่ติดเชื้อดื้อยา

                                                โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก


                                                                                        นางสาวพชรพิมพ์ ขาวทุ่ง

                                                                       โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก เขตสุขภาพที่ 2
                                                                                               ประเภท วิชาการ



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ทั่วโลกประสบปัญหาเรื่องการติดเชื้อดื้อยา ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีจำนวนยาปฏิชีวนะใหม่ๆ ลดลง

                  ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ในขนาดที่ใกล้เคียงกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในส่วนของ

                  ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายของโลกและสร้างความรู้ความเข้าใจและร่วมมือ
                  ร่วมใจกันทุกฝ่ายทุกระดับในการจัดการกับปัญหาเชื้อดื้อยา(ภานุมาศและคณะ, 2555) เชื้อดื้อยาจะเป็นปัญหา

                  ต่อระบบสุขภาพมากยิ่งขึ้น ประมาณว่าทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อที่ดื้อยา จำนวน 7 แสนถึง

                  หลายล้านคน/ปี (WHO, 2014)
                         ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการติดเชื้อดื้อยาหลายขนานที่สำคัญได้แก่ การติดเชื้อจากโรงพยาบาล มีประวัติ

                  เคยติดเชื้อในกระแสเลือด หรือได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำหรือได้รับอาหารทางสายยาง หรือใส่สายสวน
                  ปัสสาวะ (ปิยพัชร, 2565) อัตราการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                  กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการ การดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย ในด้านการส่งเสริม

                  ความรอบรู้ด้านเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชน ข้อมูลจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ
                  จำนวน 1,121 โรงพยาบาลพบเชื้อก่อโรคที่ดื้อยาตามยุทธศาสตร์ชาติดื้อยา ปี พ.ศ. 2566 ประกอบด้วยเชื้อก่อโรค

                  8 ชนิด จำนวนเชื้อก่อโรคดื้อยาใน 3 อันดับแรกได้แก่  Klebsiella pneumoniae, Escherichia coli
                  และ Acinetobacter baumannii มีจำนวนครั้งการติดเชื้อดื้อยาคิดเป็นร้อยละ 42.07, 29.57 และ 18.28

                  (ระบบฐานข้อมูลโรคติดเชื้อ, 2566)

                         โรงพยาบาลวังเจ้าซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชน สิ่งส่งตรวจพบเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะจากชุมชนมีแนวโน้มสูงขึ้น
                  ข้อมูลในปี 2565-2566 พบเชื้อดื้อยาในสิ่งส่งตรวจ จำนวน 7 ครั้งและ 21 ครั้ง การที่มีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา

                  จึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพิ่มโอกาสผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ มีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น

                  การปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยามีแนวทางปฏิบัติแต่ยังพบว่าไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
                  เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล จำเป็นต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ให้ได้รูปแบบการพยาบาล

                  ผู้ป่วยที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ จึงมีแนวคิดในการพัฒนาการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผู้ป่วย
                  ในที่ติดเชื้อดื้อยาโรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         2.1 เพื่อศึกษาสถานการณ์การพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผู้ป่วยในที่ติดเชื้อดื้อยา

                  โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก
   622   623   624   625   626   627   628   629   630   631   632