Page 629 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 629
Q15
- กรณีที่รับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาใหม่ หลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (re-admit) ภายในระยะเวลา
ไม่เกิน 1 เดือนจากการติดเชื้อดื้อยาครั้งก่อน ให้แยกผู้ป่วยไว้ก่อน โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยก หากไม่มี
ห้องแยกให้จัดบริเวณให้ผู้ป่วยอยู่ (zoning)
2. การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ด้วยการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย สอน สาธิต, การปฏิบัติตามหลัก
Contact precautions อย่างเคร่งครัด, การสื่อสารให้บุคลากรต่างๆ ทราบ, การลดปริมาณเชื้อดื้อยา
ที่ปนเปื้อนบนร่างกาย, การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย, การจำหน่าย/การส่งต่อผู้ป่วย, การควบคุมเชื้อในสิ่งแวดล้อม,
การยุติการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา, การใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย
3. การจำหน่ายผู้ป่วย ให้สุขศึกษาผู้ป่วยและญาติ ส่งข้อมูลการติดตามผู้ป่วยด้วยการสร้างเครือข่าย
การสื่อสารแบบกลุ่ม กรอกข้อมูลผู้ป่วยเป็นระบบบัญชีแจ้งเตือน (LINE ALERT) เจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล ติดตามเยี่ยมประเมินอาการ และ กรอกข้อมูลการติดตามเยี่ยมใน google sheet
ระยะที่ 3
- พยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วย ร้อยละ 94.44 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 29 ปี มีอายุทำงานเฉลี่ย
5.75 ปี ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการมากที่สุด ร้อยละ 88.89
- หลังพัฒนาการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผู้ป่วยในที่ติดเชื้อดื้อยาของโรงพยาบาลวังเจ้า
มีการปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยในที่ติดเชื้อดื้อยาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งด้านการล้างมือ การใช้
อุปกรณ์ป้องกัน การแยกผู้ป่วยและอุปกรณ์ของใช้ของผู้ป่วย การจัดการอุปกรณ์การแพทย์ และการทำความสะอาด
สิ่งแวดล้อม
- ความพึงพอใจต่อการพัฒนาการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผู้ป่วยในที่ติดเชื้อดื้อยา
โรงพยาบาลวังเจ้าอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (M = 2.77, S.D.=0.42) พิจารณาเป็นรายด้านพบว่าแนวทางมี
ขั้นตอนการปฏิบัติงานชัดเจนในระดับพึงพอใจมาก (M = 2.89, S.D.=0.32)
อภิปรายผล
พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามีการติดเชื้อดื้อยาก่อนมาโรงพยาบาล พบมากที่สุดในกลุ่มที่มีอายุ
มากกว่า 60 ปี เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย พบเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินปัสสาวะมากที่สุด และเชื้อก่อโรค
ดื้อยา 3 อันดับแรกที่พบในสิ่งส่งตรวจได้แก่ Escherichia coli , Acinetobacter baumannii และ
Klebsiella pneumoniae สถานการณ์ของเชื้อก่อโรคดื้อยาที่พบในสิ่งส่งตรวจ สอดคล้องกับข้อมูลอัตรา
การติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2566 ในโรงพยาบาลระดับชุมชนพบเชื้อก่อโรคดื้อยา
3 อันดับแรก ได้แก่ Acinetobacter baumannii, Klebsiella pneumoniae และ Escherichia coli และ
องค์การอนามัยโลกจัดระดับกลุ่มความสำคัญระดับฉุกเฉินของเชื้อดื้อยาในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่
Acinetobacter spp., เชื้อกลุ่ม Enterobacteriaceae เช่น Escherichia coli และ Klebsiella spp. เช่นกัน
จากข้อมูลที่พบจำเป็นต้องส่งเสริม สื่อสารความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาไปยังประชาชน เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ
การใช้ยาเกินความจำเป็น อีกทั้งหน่วยงานอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้ความสำคัญป้องกันการเกิดและควบคุม
การกระจายทั้งในคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม ควบคุมการซื้อยาปฏิชีวนะ ตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ 2566-2570
กระบวนการในการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่สะท้อนจากความคิดเห็นผู้ปฏิบัติงาน จะเป็นโอกาส
ในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการ ออกแบบ ให้สอดคล้องกับนโยบายและบริบทของหน่วยงานกับการป้องกัน