Page 630 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 630
Q16
และควบคุมเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ทั้งด้านการสนับสนุนบุคลากร งบประมาณ การปรับปรุงแนวทาง อาคารสถานที่
ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (อภิชาตและสุวรรณชัย, 2563)
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาใช้มาตรการตามหลัก Contact precautions เพิ่มช่องทาง
การสื่อสารในองค์กร, การลดปริมาณเชื้อดื้อยาที่ปนเปื้อนบนร่างกาย, การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย, การส่งต่อผู้ป่วย,
การควบคุมเชื้อในสิ่งแวดล้อม, การยุติการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา, การใช้อุปกรณ์
ป้องกันร่างกาย จนถึงขั้นตอนการจำหน่ายผู้ป่วยมีการให้สุขศึกษาผู้ป่วยและญาติ (Jamsangtong, 2019)
สมรรถนะการพยาบาลทั้งด้านการล้างมือ ควรมีงบประมาณในการรณรงค์ทำความสะอาดมือ
การกำหนดนโยบายจากผู้บริหารด้านการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน (วิไลลักษณ์,
2560) การใช้อุปกรณ์ป้องกัน การแยกผู้ป่วยและอุปกรณ์ของใช้ของผู้ป่วย การจัดการอุปกรณ์การแพทย์และ
การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม พบว่าปฏิบัติได้ดีขึ้น เป็นผลจากการมีส่วนร่วมสนทนากลุ่ม สะท้อนปัญหา
แสดงความคิดเห็น เมื่อมีแนวทางที่ชัดเจนขึ้น แลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะ ส่งผลให้ปฏิบัติเป็นไปในแนวทาง
เดียวกัน ความพึงพอใจต่อการพัฒนาการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผู้ป่วยในที่ติดเชื้อดื้อยา
จึงอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
สรุปและข้อเสนอแนะ
ควรมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติของการพยาบาลในระยะยาว เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิด
ความต่อเนื่อง และผลการติดตามหลังจำหน่าย ศึกษาผลลัพธ์ของการเฝ้าระวัง รวมทั้งปัญหาอุปสรรค
ข้อเสนอแนะของการเฝ้าระวังระดับชุมชน ให้สอดคล้องกับนโยบายการดูแลสุขภาพประชาชน