Page 631 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 631

Q17

                      การวิเคราะห์ค่าตัดแบ่งที่เหมาะสมของปริมาณ PMNs เฉลี่ยต่อวงกล้อง จากตัวอย่าง

                    ในท่อปัสสาวะ เพื่อทำนายการตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ Chlamydia trachomatis
                               ในปัสสาวะของผู้รับบริการที่มีประวัติพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ



                                                                                           นายปฐมพงศ์ แย้มปั้น
                                                     สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ เขตสุขภาพที่ 3

                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         โรคหนองในเทียม (Non-gonococcal urethritis; NGU) เป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะซึ่งไม่ได้
                  มีสาเหตุจากการติดเชื้อ Neisseria gonorrhoeae ประมาณ 11-50% ของผู้ป่วยหนองในเทียมเกิดจากการติดเชื้อ

                  Chlamydia trachomatis 30% เกิดจากการติดเชื้อ Ureaplasma urealyticum และที่เหลือเกิดจากสาเหตุ
                  อื่นๆที่พบได้น้อยมาก เช่น เกิดจากการติดเชื้อ Mycoplasma genitalium, Trichomonas vaginalis

                  ท่อปัสสาวะตีบ, หูดหงอนไก่, วัตถุแปลกปลอม, แผลที่เกิดจากเชื้อ Herpes Simplex Virus (HSV)

                  ในท่อปัสสาวะ เป็นต้น เกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อการรักษาโรคหนองในเทียมในผู้ป่วยที่มีประวัติพฤติกรรมเสี่ยง
                  ทางเพศตามแนวทางของกรมควบคุมโรค พ.ศ.2562 คือ การตรวจ Urethral gram stain ไม่พบ Gram

                  negative diplococci และพบปริมาณ PMNs เฉลี่ย > 5 cells/oil field ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคหนองในเทียม

                  แต่ไม่สามารถพิสูจน์ทราบสาเหตุได้ กรณีต้องการทราบว่าโรคหนองในเทียมเกิดจากการติดเชื้อ Chlamydia
                  trachomatis ต้องทดสอบต่อไปด้วยวิธีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของเชื้อหรือ Nucleic acid

                  amplification testing (NAAT) เช่น ชุดน้ำยาสำเร็จรูป Xpert CT/NG Assay (Cepheid,สหรัฐอเมริกา)

                  ซึ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ให้ใช้ตรวจหาสาร
                  พันธุกรรมของเชื้อ Chlamydia trachomatis จากตัวอย่างปัสสาวะและอวัยวะเพศ อย่างไรก็ตาม วิธีการ

                  ดังกล่าวมีต้นทุนสูง และยังไม่เป็นที่แพร่หลายสำหรับงานประจำวันของห้องปฏิบัติการในสถานพยาบาลต่างๆ
                  ดังนั้น ผู้วิจัยจึงทบทวนการตรวจ Urethral gram stain เพื่อวิเคราะห์ค่าตัดแบ่งที่เหมาะสมของปริมาณ PMNs

                  เฉลี่ยต่อวงกล้องจากตัวอย่างในท่อปัสสาวะ เพื่อทำนายการตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ Chlamydia

                  trachomatis ในปัสสาวะ ของผู้รับบริการที่มีประวัติพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ซึ่งพิจารณาจากค่าความไว
                  (Sensitivity) ค่าความจำเพาะ (Specificity) และพื้นที่ใต้กราฟ (Area under curve; AUC)


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการตรวจ Urethral gram stain โดยการวิเคราะห์ค่าตัดแบ่ง

                  ที่เหมาะสมของปริมาณ PMNs เฉลี่ยต่อวงกล้องจากตัวอย่างในท่อปัสสาวะ เพื่อทำนายการตรวจพบสาร
                  พันธุกรรมของเชื้อ Chlamydia trachomatis ในปัสสาวะ ของผู้รับบริการที่มีประวัติพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ


                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสังเกตแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ในผู้รับบริการที่เรนโบว์

                  คลินิกและห้องปฏิบัติการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และโรคเรื้อน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3
   626   627   628   629   630   631   632   633   634   635   636